16.4.13

แนะวิธีบริหารกล้ามเนื้อคลายเมื่อย

แนะวิธีบริหารกล้ามเนื้อคลายเมื่อย

สำหรับคนที่วัน ๆ ต้องนั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ เป็นเวลานาน ๆ ไม่ใครก็ใครคงต้องเกิดอาการปวดตา ตามัว ตาแห้ง สายตาล้า หรือมีอาการทางสายตาอื่น ๆ บ้าง ปัจจุบันอาการทางสายตา ที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์มีเพิ่มขึ้น จากสถิติพบว่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า 50% มีอาการปวดตา ตามัว ตาแห้ง สายตาล้า และปวดศีรษะ รวมทั้งมีอาการอื่น ๆ เช่น ปวดหลัง เมื่อยคอ อาการเหล่านี้ มักเกิดกับผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน

ถ้าหากคุณ เป็นอีกคนหนึ่ง ที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ 2 ชั่วโมงต่อวัน หรือมากกว่านั้น หรือไม่ ก็เริ่มมีอาการอย่างที่บอกบ้างแล้ว ต่อไปนี้ คือ เคล็ดลับเพื่อถนอมดวงตาเวลาใช้คอมพิวเตอร์
  1. กะพริบตาให้ถี่ขึ้น " อาการตาแห้ง " เกิดจากการที่เรากะพริบตาน้อยลง เนื่องจากมีสมาธิขณะทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ อัตราการกะพริบตาจะลดลงจาก 20 - 22 ครั้งต่อนาที เหลือเพียง 6 - 8 ครั้งต่อนาที ถ้าไม่อยากตาแห้ง ควรจะกะพริบตาให้ถี่ขึ้น หรืออาจใช้น้ำตาเทียมหยอดตา เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น
  2. จัดวางคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม ให้ บริเวณหน้าต่าง อยู่ทางด้านข้างของจอคอมพิวเตอร์ เพื่อลดแสงตกสะท้อนบนหน้าจอ และควรจัด ให้มีระยะห่างระหว่างจอภาพกับตัวเราประมาณ 50 - 70 ชม. จัดระดับจดภาพจากจุดศูนย์กลางของจอคอมพิวเตอร์ ให้อยู่กว่าระดับสายตาประมาณ 4 - 9 นิ้ว ไม่ควรให้จอภาพอยู่สูง หรือต่ำเกินไป
  3. ปรับความสว่างของห้อง ควรปิดไฟบางดวง ที่รบกวนการทำงาน เพราะ ปัญหาส่วนใหญ่ เกิดจากความสว่างที่มากเกิน ไป ถ้ามีแสงจ้าจากหน้าต่าง ควรใช้มูลี่เพื่อปรับแสงให้ผ่านได้เพียงบางส่วน และไม่เข้าตาโดยตรง หลีกเลี่ยงการใช้เฟอร์นิเจอร์ ที่มีพื้นผิวสะท้อน เช่น โต๊ะสีขาว ควรใช้วัสดุที่มีผิวด้าน ที่สะท้อนแสงไม่มากจะดีกว่า
  4. เลือกใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ เวลาพิมพ์งาน ควรเลือกใช้ขนาดของตัวอักษรที่ใหญ่พอ และปรับความเข้มของตัวอักษรให้มากขึ้น ซึ่งขนาดตัวอักษร และความเข้มที่เหมาะสม จะสังเกตได้จากการที่เรายังสามารถ อ่านตัวอักษรได้ในระยะห่างเป็น 3 เท่าของระยะที่นั่งทำงาน หรือเลือกใช้จอคอมพิวเตอร์ชนิด LCD (จอแบน) ซึ่งจะช่วยถนอมสายตาได้ ดีกว่าจอคอมพิวเตอร์แบบเก่า (CRT)
  5. เลือกใช้แว่นตาที่เหมาะสมกับการใช้คอมพิวเตอร์ ควรเลือกใช้เลนส์สีเขียวอ่อน ที่ช่วยให้สบายตาภายใต้แสงจากหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ และเพื่อลดแสงสะท้อนจากจอภาพ โดยเลือกแว่นตา ที่มีกำลังขยายสำหรับระยะ 50 - 70 ซม. (ระยะกลาง) ซึ่งค่ากำลังของเลนส์ดังกล่าว จะแตกต่างจากเลนส์อ่านหนังสือ หรือเลนส์มองใกล้ ทั่วไป
  6. พักสายตา ทุก ๆ ชั่วโมง ควรเปลี่ยนอิริยาบถ หรือลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายบ้าง เพื่อพักสายตา และป้องกันอาการปวดเมื่อย จากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
วิธีบริหารกล้ามเนื้อตาแบบง่าย ๆ

" การบริหารกล้ามเนื้อตา " เป็นการออกกำลังกล้ามเนื้อตา เพื่อช่วยลดความตึงเครียดของดวงตา อาการเพลียตา หรือปวดตา เนื่องจากใช้สายตามาก โดยมีวิธีปฎิบัติดังนี้
  1. กลอกตา ขึ้น - ลงช้า ๆ 6 ครั้ง โดยเหลือบตาขึ้นสูงสุด และลงต่ำสุด ในระหว่างการบริหารอย่างเกร็งลูกตา
  2. กลอกตาไปข้างขวา และซ้ายสลับกัน โดยกลอกตาไปให้ขวาสุด และซ้ายสุด ทำซ้ำ 2 - 3 ครั้ง
  3. ชูนิ้วขึ้นมา ให้อยู่ในระดับสายตา ห่างจากสายตาประมาณ 8 นิ้ว แล้วจ้องมองไปที่ระยะไกล ๆ ประมาณ 10 ฟุต สลับกับใช้ตามองระยะใกล้ ที่นิ้วมือใช้เวลามองแต่ละที่ประมาณ 2 - 3 วินาที ทำสลับไปมาเช่นนี้ ประมาณ 10 ครั้ง แล้วหยุดพัก 1 วินาที ทำประมาณ 2 - 3 รอบ
  4. กลอกตาเป็นวงกลมช้า ๆ โดยเริ่มกลอกตา ตามเข็มนาฬิกาก่อน แล้วกลอกตาทวนเข็มนาฬิกา ทำประมาณ 10 ครั้ง แล้วหยุดพัก 1 วินาที ทำประมาณ 2 - 3 รอบ

สุดท้าย คือ คำแนะนำจากความปรารถนาดีว่า เราควรตรวจสุขภาพตาปีละ 1 ครั้ง เพื่อวัดความดันตา ตรวจเช็กจอประสาทตา และความผิดปกติของสายตาเป็นประจำ เพราะโรคตาบางอย่างจะไม่แสดงอาการจนกว่าจะถึงขั้นรุนแรงแล้ว หากตรวจพบโรคตาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อช่วยป้องกันการสูญเสียสายตาได้ ดวงตาของเรามีค่าควรถนอมรักษาให้อยู่กับเรานานเท่านาน


ที่มา
ศูนย์เลสิคและรักษาสายตารัตนิน - กิมเบล

ร้อนหรือเย็น เลือกอาบอย่างไรดี ?

ร้อนหรือเย็น เลือกอาบอย่างไรดี ?
การ " อาบน้ำ " เป็นกิจวัตรที่แสนจะผูกพันกับผู้คนมาตั้งแต่เกิด หลายคนอาจจะให้เวลากับการอาบน้ำนานนับชั่วโมง ขณะที่บางคนใช้เวลาเพียงแค่วิ่งผ่านน้ำ ไม่ว่าจะอย่างไร หลังอาบน้ำ ทุกคนก็จะได้ความสะอาด ฉ่ำชื่นกันทุกที
นอกจากวัตถุ ประสงค์ เพื่อชำระล้างคราบไคลจากร่างกายแล้ว ปัจจุบันมีคนนำการอาบน้ำ เข้ามาเป็นการผ่อนคลาย บำบัดความเครียด ช่วยทำให้กระปรี้กระเปร่าได้ โดยจะใช้เป็นฝักบัว หรือแช่อ่างก็ไม่ต่างกัน เพราะสิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่อุปกรณ์ แต่อยู่ที่ " อุณหภูมิของน้ำ " ที่ความร้อน-เย็นล้วนมีผลต่อร่างกายทั้งสิ้น
" น้ำร้อน " สำหรับการอาบน้ำร้อนนั้น อุณหภูมิจะอยู่ที่ 37 องศาเซลเซียสขึ้นไป อุณหภูมิระดับนี้จะทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น จึงเหมาะกับใช้กระตุ้นอาการขี้เกียจ แต่ไม่ควรจะอาบนานเกินไป เพราะหลอดเลือดขยายตัวจนทำให้ผิวแห้ง มีผื่นขึ้น ผิวเหี่ยว ร้ายไปกว่านั้น อาจทำให้เลือดคั่ง ประสาทอ่อนล้า กระวนกระวาย ง่วงเหงา ซึมเซา ไม่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้สูงอายุ หรือผู้มีความดันผิดปกติ
" น้ำอุ่น " อุณหภูมิจะอยู่ที่ 27-37 องศาเซลเซียส ระดับนี้จะช่วยกระตุ้นประสาทอัตโนมัติ ทำให้ร่างกาย จิตใจสบาย ลดเครียด ลดไข้ได้

" น้ำเย็น " อุณหภูมิจะ ต่ำกว่า 27 องศาเซลเซียส ความเย็นจะช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อ ช่วยให้กระปรี้กระเปร่า ผิวเต่งตึง รูขุมขนกระชับ ระหว่างอาบน้ำ ถ้าใช้มือตบเบา ๆ ไปทั่วร่างกาย จะช่วยกระตุ้นผิว และผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้
วิธี การอาบน้ำนั้น ให้เริ่มไล่จากปลายเท้าไปถึงกลางลำตัว เพื่อปรับอุณหภูมิ แล้วจึงเริ่มอาบน้ำ ถ้าใช้ฝักบัว ควรเปิดน้ำแรง ๆ แล้วฉีดไปทั่วตัวช่วยในการผ่อนคลาย
ส่วนการแช่น้ำ อุ่นนั้น ควรแช่ราว 10 นาที แล้วค่อยลุกขึ้นมาขัดตัว อาบน้ำ สระผม แปรงฟัน แล้ว ลงไป แช่ใหม่อีกครั้ง จะช่วย ยืดเส้นสายในร่างกาย สบายตัว ผิวสวย ลดอาการมือเท้าเย็น อาการบวม เส้นเลือดขอด ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ลดไขมันได้ แต่อย่าใช้น้ำที่ร้อนเกินไป และอย่าแช่นานเกินไป อาจทำให้ผิวเปื่อยลอกได้

ส่วนเวลาอาบน้ำ ที่ดีที่สุดนั้น ถ้าออกกำลังกาย ก็หลังไปแล้ว ไม่ต่ำกว่าครึ่งชั่วโมง และไม่ควรจะอาบน้ำหลังรับประทานอาหารทันที เพราะอาจทำให้อาหารไม่ย่อย ทางที่ดี ควรอาบก่อน หรือหลังอาหารไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง

ที่มา
Be Magazine

"คนแก่" ผู้สูงอายุหมายถึงใคร ?

"คนแก่" ผู้สูงอายุหมายถึงใคร ?

เครื่องยนต์ใหม่ เมื่อใช้งานมาได้สักระยะหนึ่ง ก็จะกลายเป็นเครื่องยนต์เก่า และมีประสิทธิภาพในการทำงานจะลดน้อยลง ซึ่งก็เหมือนมนุษย์เรา ที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา จากเด็กเป็นวัยรุ่น เป็นผู้ใหญ่ และเป็นผู้สูงอายุในเวลาต่อมา ผู้สูงอายุก็เช่นเดียวกันกับเครื่องยนต์เก่า ซึ่งเครื่องยนต์เก่า ที่ยังทำงานได้ดีเหมือนเครื่องยนต์ใหม่ ก็พบได้โดยทั่วไป

ดังนั้น จึงเป็นการยากที่จะกำหนดว่าอายุเท่านั้นเท่านี้ เรียกว่า "คนแก่" หรือ "ผู้สูงอายุ" มีคำกล่าว ที่เป็นความจริงที่ว่า "แก่หรือไม่แก่อยู่ที่ใจของเราเอง " คนสูงอายุ ที่อยู่ระหว่าง 75 - 80 ปี บางคนยังคงแข็งแรงดี ความคิดความอ่านยังดี ยังคงทำงานได้เหมือนคนอายุ 60 ปี แต่บางคนอายุ 60 ปี แต่ร่างกายและจิตใจเหมือนคนอายุ 70 ปี ก็สามารถจะพบได้เช่นเดียวกัน

ถ้า เราหยุดคิดสักนิด และศึกษาประวัติย้อนหลังของคนสูงอายุ ที่มีสุขภาพต่าง ๆ กัน เราจะพบว่า ผลพวงจากวิทยาศาสตร์การแพทย์ เวชศาสตร์ป้องกัน ความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และการรักษาพยาบาล มีส่วนทำให้คนสูงอายุ ที่ยังคงสภาพความแข็งแรง มีจำนวนมากขึ้น

จึง ยังไม่สายเกินไป ที่ท่านจะหันมาปฏิบัติตน เพื่อจะเป็นผู้สูงอายุ ที่แข็งแรงทั้งร่างกาย และจิตใจ โดยปฏิบัติตนตามสุขบัญญัติ 6 ประการ ได้แก่
  1. การควบคุมน้ำหนักตัว
  2. รับประทานอาหารที่เหมาะสม
  3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  4. หลีกเลี่ยงการบริโภคสารที่มีอันตราย
  5. ลดความเครียดและพักผ่อนให้เพียงพอ และ
  6. ตรวจเช็คร่างกายตามระยะเวลา

ดื่ม "น้ำ" ให้ลืม "โรค"

ดื่ม "น้ำ" ให้ลืม "โรค"


เพราะว่า " น้ำ " สำคัญ คำแนะนำจากแพทย์คอยแนะนำอยู่เสมอว่า ให้ดื่มน้ำสะอาด แต่ดูเหมือนคำจำกัดความว่า "น้ำสะอาด" จะถูกตีความกันไปหลายเวอร์ชัน

น้ำที่มนุษย์บริโภคกันบนโลกนี้แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ " น้ำเหนือพื้นดิน " รวมทั้งน้ำที่ลอยอยู่ในอากาศ และ " น้ำในผิวดิน " รวมถึงน้ำในดิน

ก่อน ที่จะบริโภค เราจำเป็นต้องพิจารณาความปลอดภัยเป็นอันดับแรก สำหรับน้ำเหนือดิน คงต้องเน้นกัน ที่สารพิษที่ลอยล่องบนท้องฟ้า ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม ณ สถานที่นั่น ส่วนน้ำผิวดิน คงต้องพิจารณาสารพิษ และแร่ธาตุต่าง ๆ ในดินเป็นหลัก

ย้อน กลับไปสมัยยังไม่ปฏิวัติอุตสาหกรรม เรานำเอาถ่านหิน และเชื้อเพลิงรูปแบบอื่น ๆ มาเดินเครื่องจักร น้ำฝนเป็นแหล่งน้ำดื่มที่สะอาด ผ่านการกรองด้วยระบบธรรมชาติ จากน้ำบนพื้นดินก่อนจับตัวเป็นก้อนเมฆ และกลั่นตัวมาเป็นน้ำฝน แต่ตอนนี้ ถ้าใครตักน้ำฝนใส่ขันมาให้ดื่มคงขอปฏิเสธ

ผิวดินอย่าง “น้ำในลำธาร” และ “น้ำบาดาล” บางแห่งมีแร่ธาตุละลายในดิน เกินค่ามาตรฐาน รวมทั้ง สารเคมีเป็นพิษต่าง ๆ ทำให้เกิด รส กลิ่น และสี ไม่พึงประสงค์ เพราะมันได้อานิสงส์มาจากมลพิษ ทำให้เกิดผลเสียในระบบนิเวศจนเกินเยียวยา

ส่วน “น้ำประปา" ที่ โฆษณาว่าดื่มได้นั้น แม้จะมีมาตรฐานความน่าเชื่อถือในระบบการผลิต แต่ลองถามผู้บริโภคเอาเถอะ ไม่มีใครกล้าดื่มน้ำก๊อกกันหรอก ถึงท่อการประปาจะสะอาด แต่ท่อของหมู่บ้านไว้ใจได้ที่ไหน ในเมื่อ น้ำฝนก็ไม่กล้าดื่ม น้ำบาดาลก็ไม่วางใจ เลยทำให้ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องกรองน้ำ ทำตลาดกันคึกคัก แทรกซึมทุกครัวเรือน พาเหรดกันมาในหลายรูปเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นพื้น ๆ อย่างผงคาร์บอน น้ำอาร์โอ โอโซน ยูวี แม่เหล็กไฟฟ้า กรองให้สะอาดปลอดเชื้อ ปลอดกลิ่น ก่อนดื่มกินสบายอุรา

ยังไม่หมด แถมยังมี “น้ำแร่ธรรมชาติ” ราคา แพง แต่ก็มีกลุ่มลูกค้าเงินหนาซื้อดื่ม น้ำแร่ธรรมชาติ ก็ยังสามารถแยกย่อยลงไปอีก เป็นชนิดมีฟอง และไม่มีฟอง ตลอดจนความเข้มข้นของแร่ธาตุในระดับต่ำถึงสูง

แต่ ถ้าบริโภคแร่ธาตุมากเกินไป จะเกิดการสลับสับเปลี่ยนแร่ธาตุ อาจทำให้ขาดแร่ธาตุ และเป็นโทษต่อร่างกาย กระนั้น ผู้ผลิตน้ำแร่ธรรมชาติกล่าวแย้งว่า ร่างกายจะดูดซึมแร่ธาตุที่ขาดและมีกระบวนการขับแร่ธาตุส่วนเกินออกจากร่าง กายได้เอง

จากนั้นเทคโนโลยีทางฟิสิกส์ ก็สร้างปรากฏการณ์ผลิต “น้ำนาโน” ด้วย การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของโมเลกุลน้ำให้เล็กลง และมีความละเอียดมากขึ้น ในการดูดซึมเข้าสู่เซลล์เร็วกว่าปกติถึง 3 เท่า และมีความสามารถจับอนุมูลอิสระได้ดี

ไม่ว่าสารพัดน้ำดีวิเศษแค่ไหน แต่ทุกอย่างมักย่อมมีสองด้านเสมอ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และความจำเป็น ที่แท้จริงของร่างกายแต่ละคน หากคุณอยู่ต่างจังหวัด ที่ยังมีอากาศสดชื่นสมบูรณ์ และปราศจากมลภาวะอย่างแท้จริง น้ำฝน น้ำในลำธาร หรือน้ำบาดาลต้มให้สะอาดเสียหน่อย ดื่มได้ไม่ต้องซื้อน้ำขวด ตรงข้ามกับคนที่อยู่ในเมืองกรุง หัวเมืองใหญ่ ๆ หรือเขตอุตสาหกรรมโดยสิ้นเชิง พวกเขาจะต้องพึ่งพาความสะอาดของน้ำประปา และน้ำกรอง ซึ่งสามารถใช้ง่าย หาซื้อได้อย่างสะดวกและปลอดภัย

นอก จากจะเลือกประเภทน้ำให้เหมาะสมแล้ว ยังต้องเลือกวิธีการบริโภคให้ถูกต้องด้วยเช่นกัน เมื่อบริโภคน้ำอย่างเพียงพอ และสม่ำเสมอ ร่างกายจะสะท้อนความเปล่งปลั่ง และสดใสให้เห็นทางผิวพรรณ ใบหน้าและดวงตา แต่หากร่างกายขาดน้ำเกิน 2 ชั่วโมง มันจะส่งสัญญาณขมคอ และปากแห้งให้เรารู้สึกตัวทันที

ถ้า ดื่มน้ำมากเกินไป นอกจากจะปัสสาวะบ่อยจนน่ารำคาญแล้ว ไตก็จะทำงานผิดปกติ เกิดภาวะไตเสื่อม ทำให้เกิดน้ำคั่ง และภาวะร่างกายบวมน้ำได้

ทางออก เหมาะสมที่สุด คือ ในหนึ่งวันควรบริโภคน้ำในอัตรา 4 - 5% ของน้ำหนักตัว เช่นน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ควรดื่มน้ำไม่เกิน 2.5 ลิตรต่อวัน อีกทั้ง ควรดื่มครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ เพื่อป้องกันอาการท้องอืด และให้ร่างกายได้มีเวลาดูดซึมน้ำ

พร้อม กับสร้างพฤติกรรมมีน้ำติดตัวเสมอ เพื่อจะได้ดื่มน้ำทั้งวัน และดื่มได้ตลอดเวลา โดยวางแผนตั้งเวลาดื่ม ตามความจำเป็น ซึ่งปัจจุบันวิธีนี้ กลายเป็นกระแสสุดฮิตของผู้รักสุขภาพตัวจริงไปแล้ว

ที่มา
นายแพทย์พีรยศ ตรงสวัสดิ์

" เท้า " กระจกส่องสุขภาพ

" เท้า " กระจกส่องสุขภาพ


ย่างเจ้าฤดูอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย หรือซีซั่นเชนจ์ อาการคัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ แถมวิงเวียนศีรษะเริ่มมาเยือน พอให้รำคาญ ซึ่งความจริงไม่ถึงกับต้องไปอ้าปากปลิ้นตาให้หมดดู แค่ดื่มน้ำอุ่น พักผ่อนให้มาก เช็ดตัวเพื่อระบายความร้อนจากร่างกายก็พอ ร่างกายมนุษย์เรามีกองทัพภูมิต้านทาน คอยกำราบหวัดธรรมดาได้สบายอยู่แล้ว รำคาญมากพึ่งยาแก้หวัดก็ไม่ผิดกฎเกณฑ์ชีวิตอะไร

แต่พอมีผลวิจัย ตั้งข้อสังเกตว่า ต้นเหตุของโรคในปัจจุบัน อาจเกิดจากการบริโภคยาเคมีมากเกินไป และทำให้มีผลข้างเคียงมาก บวกกับสารพิษรอบตัวมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้ร่างกายขับเอาของเสียออกไปได้ยาก จึงติดขัดตามระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เกิดภาวะตกต่ำเสียศูนย์ แถมแพทย์ปัจจุบันกลับมุ่งแก้ปัญหาเฉพาะจุดเท่านั้น

เอาละ ถ้าไม่อยากกินยาให้มากความ ลอง " นวดเท้าบรรเทาอาการหวัด " ดูบ้างไหม

คุณ อาจสงสัยว่าเป็นหวัดคัดจมูกน้ำมูกไหล ปวดหัวหนึบ ไอมีเสลด แต่เหตุไฉน ถึงแนะนำให้ไปนวดเท้า อวัยวะอยู่ห่างกันเป็นเมตรเลยนะนั่น แต่อาจารย์สุทัศน์ กุลสันติพงค์ เจ้าของศูนย์เสริมสุขภาพเซิ่งกู่ บอกว่า " ฝ่าเท้า " เปรียบเสมือนกระจกส่องสะท้อนสุขภาพของเรา และเป็นศูนย์รวมประสาททั้งหมดของร่างกาย

อาจารย์ สุทัศน์ร่ำเรียนศาสตร์นวดฝ่าเท้าแบบจีน มาจากอาจารย์จงเชิงเวย แพทย์จีนเมืองจูไห่ ที่ตระกูลถ่ายทอด และสืบทอดมาหลายชั่วอายุคน เรียกว่าใครมาหาหมอ ไม่ต้องอ้าปากใช้ไฟฉายส่อง แต่ยกเท้าให้ดูก็พอ

ถ้า ผู้ป่วยเพิ่งมีอาการ 1-2 สัปดาห์ เพียงแค่ตัวร้อน และไม่รุนแรงมาก เช่น ไม่ไอ หรือหอบ ก็จะลงมือทำความสะอาดเท้าก่อนเป็นอันดับแรก แล้วนวดให้ทั่วเท้าเพื่อปรับสภาพ จากนั้นหมอทางเลือกจะใช้แท่งไม้ วางลงตรงบริเวณที่จะนวดกระตุ้นจุดเชื่อมต่ออวัยวะ แล้วออกแรงกดช้า ๆ พอให้รู้สึกเจ็บ แล้วค่อย ผ่อนแรงกด แล้วนวดกระตุ้นซ้ำอีก

การ ลากไม้ลงที่บริเวณกลางฝ่าเท้า ก็เพื่อกระตุ้นให้ไตทำงานทันที ต่อมาลากไม้ตามขวาง ที่จุดสะท้อนบริเวณฝ่าเท้า บริเวณใต้นิ้วชี้ถึงนิ้วก้อย เพื่อกระตุ้นการทำงานของทรวงอก เช่น หัวใจ และม้าม ปอด กะบังลม ขยายไปจนถึงแผ่นหลัง ตามด้วยการจรดไม้ไปที่ข้างหัวนิ้วโป้งด้านนอก เพื่อให้สะท้อนจุดสมอง ช่วยผ่อนคลาย หลับสบาย และแก้หวัดได้เร็วขึ้นด้วย

หมอ ยังคอยต้องนวดกดจุดข้างนิ้วทั้งสี่ เพราะทุกนิ้วจะเกี่ยวข้องกับตับ ระบบย่อย ลำไส้ ดวงตา ตลอดจนระบบประสาท ที่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงจากหวัด เช่น ปวดหัว ไมเกรน เป็นต้น

ข้อต่อเท้าและข้อเท้า ใต้ตาตุ่ม และเหนือส้นเท้า ซึ่งถือเป็นจุดสะท้อนสมอง เพื่อบรรเทาอาการปวดหัว และสุดท้ายจบที่บริเวณหลังเท้า ซึ่งจะเชื่อมโยงกับต่อมน้ำเหลือง เพื่อขับของเสีย

อาจารย์เล่าว่า หากตรงไหนยังเจ็บอยู่ ก็จะแก้จนกว่าจะหายเจ็บ ซึ่งระยะเวลานวดแต่ละครั้งของการรักษาประมาณ 20 - 30 นาที

เมื่อใช้วิธีนวดฝ่าเท้า เพื่อปรับสมดุลแล้ว ต้องต่อด้วยศาสตร์กดจุดลมปราณ เพื่อกระตุ้นให้เลือดลมหมุนเวียนได้สะดวกขึ้น ถือเป็นการเร่งปฏิกิริยาของร่างกายให้ทำงาน เป็นระบบเร็ว และดีขึ้นกว่า 7 เท่าตัว

หลัง จากคนป่วยนอนคว่ำเหยียดตัวอย่างสบายแล้ว ก็สตาร์ทที่การนวดคลึงบริเวณกลางหลังใต้หัวไหล่ทั้งสองด้าน และนวดไล่จากข้างบนไล่มาข้างล่าง เพื่อวอร์มอัพ และกระตุ้นระบบหายใจให้ไหลเวียนดีขึ้น หากต้องการแก้หวัดจะเน้นนวดคลึงจุดลมปราณ บริเวณหลังช่วงบน ซึ่งจะเกี่ยวกับระบบหายใจ ได้แก่ ปอด หัวใจ

ภาย หลังจากนวดฝ่าเท้า ตามด้วยการกดจุดลมปราณ เพื่อกระตุ้นเซลล์ประสาทที่หล่อเลี้ยงทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แล้วผลักดันเลือด และเซลล์ของเม็ดเลือด ที่หล่อเลี้ยงอยู่ไหลเวียนอย่างมีระเบียบ และทำงานมีประสิทธิภาพเป็นเวลากว่าหนึ่งชั่วโมงแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้คือ อุณหภูมิของผู้ป่วยด้วยอาการหวัดที่สูงกว่า 38-39 องศาเซลเซียสจะลดลงภายในหนึ่งวัน รวมทั้งน้ำมูกหยุดไหล และสบายตัวขึ้น

ถ้า มีอาการเรื้อรังนานนับเดือน หรือไข้หวัดใหญ่ คงต้องใช้เวลาในการนวดบำบัดต่อเนื่องกันอีก 7-10 วัน และอาจมีอาการข้างเคียง เช่น ไอ และขับเสมหะ บ้างเป็นเรื่องปกติ

นอกจากนี้ยังสามารถใช้ " วิธีการบำบัด ด้วยถ้วยสูญญากาศ " ควบคู่ ตามจุดลมปราณ บริเวณแผ่นหลัง เพื่อช่วยรักษาผู้ป่วย ที่มีสารพิษสะสมไว้ในร่างกายมาก ๆ จนสะท้อนด้วยอาการหวัด

การ ใช้ถ้วยสุญญากาศ จะใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที และผู้เข้ารับการบำบัด ต้องอาศัยความอดทนสูง หากอวัยวะใดผิดปกติ ก็จะสะท้อนในรูปของจุดลิ่มเลือดรอบปากขวดบริเวณนั้น ซึ่งถ้วยจะทำหน้าที่ ขับสารพิษบริเวณนั้นผ่านละอองน้ำ และน้ำเหลืองออกมา

อาจารย์ สุทัศน์ บอกว่า ภายหลังการบำบัดด้วยสามวิธีข้างต้นแล้ว ผู้ป่วยจำเป็นต้องดูแลตัวเองให้มากขึ้น ทั้งการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี และออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายได้รักษาตัวเองให้สมบูรณ์ตลอดเวลา

8.2.13

แพ้อากาศ

แพ้อากาศ


" โรคภูมิแพ้จมูก " (Allergic Rhinitis) หรือที่เรียกว่า "แพ้อากาศ" นี้ เป็นโรคที่พบบ่อยในประเทศไทย โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็ก และวัยรุ่น มากกว่า 80% ของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ มีอาการก่อนอายุ 20 ปี แต่ก็สามารถพบได้ในคนทุกวัย โรคภูมิแพ้จมูกนี้มีอาการเรื้อรัง สร้างความรำคาญให้แก่ผู้ป่วย และอาจเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ เช่น ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ เป็นต้น

ภูมิแพ้จมูกเกิดขึ้นได้อย่างไร??

ผู้ ป่วยโรคภูมิแพ้จมูกจะมีปฏิกิริยาตอบสนองไวเกินต่อสารก่อภูมิแพ้ เมื่อมีสารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกาย สารอิมมูโนโกลบูลินอี (Immunoglobulin E; IgE) ที่ถูกสร้างขึ้นจะเข้าทำปฏิกิริยากับสารก่อภูมิแพ้ที่หายใจเข้าไป เป็นผลให้เซลล์บางชนิดภายในจมูก มีการแตกตัว และหลั่งสารเคมีออกมา ทำให้เกิดการอักเสบ และมีอาการต่าง ๆ ของโรคตามมา

ใครบ้างที่มีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้จมูก

กรรมพันธุ์ ถ้าพบว่า บิดา หรือมารดาเป็นโรคภูมิแพ้ ลูกมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้สูงถึง 50% และถ้าทั้งบิดา และมารดาเป็นโรคภูมิแพ้ ลูกมีโอกาสเป็นเพิ่มขึ้นถึง 70% และมักจะมีอาการเร็วสิ่งแวดล้อม สารก่อภูมิแพ้มักจะเป็นสารที่ได้รับเข้าไป ซึ่งอาจเป็นจากการหายใจ สัมผัส รับประทาน หรือฉีดเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งแบ่งเป็นสารก่อภูมิแพ้ในบ้าน เช่น ฝุ่น, ไรฝุ่น, แมลงสาบ, รังแค หรือขนของแมว และสุนัข, เชื้อราในอากาศ, ควันบุหรี่ สารก่อภูมิแพ้นอกบ้าน เช่น ละอองหญ้า, เกสรดอกไม้, ฝุ่นละออง, ควันจากรถยนต์, ควันไฟจากการหุงต้มอาหาร, ก๊าซพิษ ปัจจัยอื่น ๆ

ทารก ที่ได้รับนมมารดาเพียงอย่างเดียวเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน พบว่า มีโอกาสเกิดภูมิแพ้น้อยลง, ทารกที่ได้รับอาหารเสริม ตั้งแต่อายุ 4 เดือนมีโอกาสเกิดโรคภูมิแพ้มากกว่าทารกที่ไม่ได้รับอาหารเสริมถึง 3 เท่า

อาการของโรค

ผู้ ป่วยจะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล จามบ่อย คันในจมูก และมีเสมหะไหลลงคอ โดยอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นตลอดปี หรือเพียงบางฤดูกาลก็ได้ โดยเฉพาะฤดูฝน หรือฤดูหนาว บางรายอาจมีอาการทางตาร่วมด้วย เช่น คันตา เคืองตา ตาบวม น้ำตาไหล อันเกิดจากการอักเสบของเยื่อบุภายในตา ที่เรียกว่า Allergic conjunctivitis ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการเฉพาะบางเวลา เช่น ตอนเช้าหรือกลางคืน ประมาณวันละ1 - 2 ชั่วโมง

อาการของโรคนี้ต่างจากอาการหวัดอย่างไร

อาการ ของโรคภูมิแพ้จมูกมักมีอาการเรื้อรังเป็น ๆ หาย ๆ อาการเด่น คือ มีน้ำมูกใส จาม และคัดจมูก คันจมูก บางครั้งอาจมีอาการคันตาร่วมด้วย โดยมักไม่มีไข้ อาจมีอาการไอเรื้อรังด้วย เนื่องจากมีเสมหะไหลลงคอทำให้ระคายคอ

แต่ หากมีอาการไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามร่างกายร่วมด้วยน่าจะเป็นหวัดมากกว่า นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้จมูก มักมีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคในกลุ่มโรคภูมิแพ้ด้วย เช่น โรคภูมิแพ้จมูก โรคหอบหืด แพ้อาหาร ลมพิษเรื้อรัง ผื่นแพ้

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคภูมิแพ้จมูก
โรคไซนัสอักเสบ
ไซนัส คือ โพรงอากาศที่อยู่ในกระดูกบริเวณใกล้จมูก มีส่วนท่อต่อกับจมูก ทำให้อากาศผ่านเข้าออกได้ เมื่อเยื่อบุภายในจมูกบวมอักเสบ จะทำให้ท่อต่อนี้อุดตัน เกิดการติดเชื้อในโพรงไซนัส เกิดเป็นโรคไซนัสอักเสบ โดยมีอาการปวดบริเวณไซนัส ปวดศีรษะ น้ำมูกเขียว บางครั้งมีเสมหะไหลลงคอ หูชั้นกลางอักเสบ ผู้ป่วยมีอาการปวดหู หูอื้อ ถ้าเป็นเรื้อรังอาจมีหนองไหลออกจากหู เนื่องจากมีเยื่อแก้วหูทะลุ

นอนกรน ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้จมูกจะมีเยื่อบุจมูกบวม บางครั้งอาจมีต่อมทอนซิล และต่อมอะดีนอยด์โตร่วมด้วย มีผลทำให้ช่องทางเดินหายใจถูกอุดกั้น และมีอาการกรนเกิดขึ้น ถ้าอาการรุนแรงอาจมีการหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ ขณะนอน ออกซิเจนต่ำ และมีผลต่อสมอง ทำให้เด็กสมาธิสั้น ส่งผลต่อพฤติกรรมและการเรียนรู้ได้

การรักษาและการป้องกัน

ใน ครอบครัวที่ทารกมีโอกาสเกิดโรคภูมิแพ้ ควรส่งเสริมให้มีการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาเพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ได้แก่ การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนาน 30 นาที ความถี่ 3 - 4 ครั้ง/สัปดาห์ เพื่อก่อให้เกิดการปฏิชีวนะ

การดูแลสิ่งแวดล้อม

ห้อง นอนควรใช้เครื่องนอนที่เหมาะสม ไม่ควรใช้หมอน หรือที่นอนที่ทำจากนุ่น และควรหมั่นทำความสะอาดเป็นประจำ งดใช้พรม ไม่สะสมหนังสือ ของเล่น หรือตุ๊กตา ที่มีขนในห้องนอน ทำความสะอาดที่นอน หมอน ผ้าห่มเป็นประจำ โดยใช้การซักด้วยน้ำร้อน 60 องศา นาน 15 - 20 นาที เพื่อฆ่าตัวไรฝุ่น และตากแดดให้แห้ง ควรทำความสะอาด ดูดฝุ่น เช็ดถูพื้นเรือน ผ้าม่าน และทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศเป็นประจำ งดการสูบบุหรี่ในบ้าน ไม่ควรใช้แป้งฝุ่น สเปรย์ปรับอากาศ และยาจุดกันยุง อาจเลือกใช้ผ้าใยสังเคราะห์พิเศษเพื่อคลุมที่นอนและหมอน เพื่อป้องกันไรฝุ่น หรือใช้เครื่องกรองอากาศชนิดที่เป็น HEPA Filter ไม่เลี้ยงสัตว์ที่มีขนในบ้าน เช่น แมว สุนัข

การ กำจัดขยะ และเศษอาหารต่าง ๆ ควรมีฝาปิดมิดชิด เพื่อป้องกันแมลงสาบ หลีกเลี่ยงสารระคายเคือง เช่น ท่อไอเสียรถยนต์ การล้างจมูก ในกรณีมีน้ำมูกปริมาณมาก หรือเป็นไซนัสอักเสบ กรณีที่พยายามหลีกเลี่ยง และพยายามออกกำลังกายแล้วอาการยังมีอยู่ แนะนำให้พบแพทย์เฉพาะทางและรับการรักษาดังนี้

ยา ต้านฮีสตามีน หรือยาแก้แพ้แบบรับประทาน ยาลดจมูกบวม แก้คัดจมูก การให้ยาพ่นจมูกเป็นประจำ เพื่อป้องกันการเกิดภูมิแพ้ การให้การรักษาโดยวิธี Desensitization (การให้วัคซีนภูมิแพ้) เป็นการรักษาโรคภูมิแพ้ที่ต้นเหตุ และพบว่ามีอัตราการหายขาด 60 – 80 % ในรายที่มีโรคแทรกซ้อนของภูมิแพ้ เช่น ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ ให้รีบรับการรักษาที่ถูกต้องโดยแพทย์เฉพาะทาง โดยการให้ยาปฏิชีวนะ

ที่มา
ข้อมูลจากโรงพยาบาลเวชธานี

กินแล้วนอน.... ระวัง! โรคกรดไหลย้อน

กินแล้วนอน.... ระวัง! โรคกรดไหลย้อน


" กรดไหลย้อน " คือ ภาวะที่น้ำกรดในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร และในบางรายอาจไหลย้อนขึ้นมาถึงคอ และกล่องเสียงได้

ปัจจุบัน พบว่า ผู้ป่วยโรคนี้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งอาจเป็นเพราะ ลักษณะรูปแบบการดำรงชีวิตของคนในสังคมเปลี่ยนไป เกิดความเครียด มีความเร่งรีบในการทำงาน ทำให้ผู้คนนิยมรับประทานอาหารจานด่วน ที่อุดมไปด้วยไขมัน คาร์โบไฮเดรต และแคลอรี่สูง รวมทั้งการแพทย์ที่ก้าวหน้า และเครื่องมือที่ทันสมัย ทำให้สามารถตรวจ และวินิจฉัยโรคนี้ได้มากยิ่งขึ้นด้วย

ภาวะนี้เกิด ขึ้นได้ เนื่องจากพยาธิสภาพของกล้ามเนื้อหูรูด ระหว่างหลอดอาหาร และกระเพาะอาหารทำงานไม่ปกติ อาการสามารถเกิดได้ทั้งกลางวัน และกลางคืน ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ในระยะเริ่มต้นอาจไม่รู้สึกว่า มีความผิดปกติ หรือมีอาการแต่อย่างไร และผู้ป่วยบางรายอาจไม่เคยมีอาการของโรคกระเพาะ หรือรักษาโรคกระเพาะมาก่อนเลยก็ได้

ลักษณะอาการ

น้ำ กรดจะทำให้ระคายเคืองหลอดอาหาร ทำให้เยื่อบุอาหารเกิดการอักเสบ ผู้ป่วยจะเจ็บในอก รู้สึกแสบร้อนในอกได้ โดยเฉพาะเวลาเรอ นอกจากนั้น กรดยังสามารถระคายเคืองกล่องเสียงและคอหอยได้ด้วย ซึ่งอาการที่บริเวณคอหอยและกล่องเสียง คือ เสียงแหบเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง โดยเฉพาะเสียงแหบในเวลาเช้า รู้สึกขมในปาก และคอหลังจากตื่นนอนใหม่ ๆ คอ และกล่องเสียงอักเสบบ่อย ๆ รักษาหายได้ไม่นาน ก็กลับมาเป็นใหม่อีก ระคายคอ และกระแอมบ่อยๆ รู้สึกว่าคอไม่โล่ง ไอเรื้อรัง แต่พบว่าปอดปกติดี กลืนอาหารลำบาก กลืนติด ๆ กลืนไม่ลง กลืนแล้วเจ็บในคอ ผู้ป่วยอาจรู้สึกเหมือนมีก้อนอะไรจุก ๆ ในคอ ลมหายใจมีกลิ่น มีกลิ่นปาก มีเสมหะในคอจำนวนมาก รู้สึกว่า เหมือนมีเสมหะไหลลงคออยู่เรื่อย ๆ

ผู้ ป่วยบางท่านอาจมีแค่อาการใด อาการหนึ่ง ในขณะที่บางท่านอาจมีหลาย ๆ อาการร่วมกันได้ อาการต่าง ๆ เหล่านี้ อาจทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิด คิดว่ามีเนื้องอก หรือก้อนมะเร็งในคอ ทั้งนี้ เมื่อทำการตรวจวินิจฉัยแล้ว แพทย์ไม่พบก้อนเนื้อเหล่านั้นเลย กรณีนี้ ทำให้ผู้ป่วยไม่สบายใจ วิตกกังวล และยิ่งเกิดความเครียดมากขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะกรดไหลย้อน คือ โรคกระเพาะ ที่ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม และต่อเนื่อง การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่ม ที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ การดื่มเครื่องดื่ม ที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ ช็อคโกแลต การรับประทานอาหาร ที่มีไขมันสูง รสจัด หรือมีส่วนประกอบของมะเขือเทศในปริมาณมาก การเข้านอนหลังรับประทานอาหารเสร็จ 2 -3 ช.ม. ภาวะโรคอ้วน มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน การสวมเสื้อผ้าที่คับแน่น ก็มีผลทำให้เกิดโรคนี้ได้ หรือ การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยานอนหลับ ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาหวัดบางชนิด เป็นต้น

การตรวจวินิจฉัย ภาวะกรดไหลย้อนนั้นแบ่งได้เป็น 2 อย่างด้วยกัน คือ
  • การตรวจด้วยกระจก ที่ใช้สำหรับตรวจกล่องเสียง และคอโดยเฉพาะ
  • การตรวจด้วยการส่องกล้อง ซึ่งการส่องกล้องนั้น แยกได้ออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ
*ส่วนที่ 1 คือ การส่องกล้องเพื่อตรวจดู ตั้งแต่ลำคอจนถึงกล่องเสียง
*ส่วนที่ 2 คือ การส่องกล้องเพื่อดูหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร

การ ส่องกล้องดูลำคอและกล่องเสียงนั้น สามารถทำได้ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก ใช้เวลาไม่นาน ไม่จำเป็นต้องใช้ยาสลบ และผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวอะไรมา (ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร)

ส่วน การส่องกล้องดูหลอดอาหารและกระเพาะอาหารนั้น ผู้ป่วยต้องเตรียมตัว โดยงดน้ำ และอาหารมาก่อน เนื่องจาก ต้องมีการใช้ยาชา หรือวางยาสลบ และเพื่อที่จะได้ไม่มีเศษอาหารในกระเพาะอาหารมารบกวน ขณะที่ทำการส่องกล้อง

ในผู้ป่วยบางรายพบว่า " มีอาการในอกคล้ายกับผู้ป่วยโรคปอด โรคหัวใจ และมะเร็งบางชนิด" จึงทำให้อาจต้องมีการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เพื่อช่วยในการวินิจฉัยแยกโรค เช่น การกลืนแป้ง การเอ็กซ์เรย์ หรือเอ็กซ์เรย์ คอมพิวเตอร์ ซึ่งการตรวจเพิ่มเติมเหล่านี้ก็ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด หรือทรมานต่อผู้ป่วยแต่อย่างใด

สำหรับแนวทางในการรักษาภาวะกรดไหลย้อนนั้น แบ่งออกได้เป็น 3 แนวทาง

แนวทางที่ 1 :
แพทย์ จะให้คำปรึกษา และแนะนำในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่าง ที่มีผลต่อโรคนี้ เช่น ในผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ แพทย์จะแนะนำให้งดสูบ ในผู้ป่วยที่ชอบรับประทานอาหารปริมาณมาก ๆ แพทย์จะแนะนำให้รับประทานอาหารแค่พอดี ไม่ควรรับประทานอาหารจนอิ่มเกินไป ผู้ป่วยโรคอ้วน หรือมีน้ำหนักตัวมาก แพทย์จะแนะนำให้งดอาหารรสจัดจำพวกเผ็ด และเปรี้ยว รวมทั้ง อาหารที่มีไขมันสูง และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน (ชา กาแฟ ช็อคโกแลต) และงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ด้วย รวมทั้งลดอาหาร ที่มีส่วนประกอบของมิ้นท์ และมะเขือเทศจำนวนมาก
แนวทางที่ 2 :
แพทย์ จะแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยา เพื่อควบคุมการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหาร ซึ่งในปัจจุบัน ยาชนิดนี้มีอยู่หลายกลุ่ม และกลไกการออกฤทธิ์แตกต่างกันไป ดังนั้น ผู้ป่วยจึงควรปรึกษาแพทย์ ก่อนใช้ยา และไม่ควรซื้อยาลดกรดรับประทานเอง เนื่องจากยานั้น ๆ อาจไม่เหมาะสม กับสภาวะที่ผู้ป่วยกำลังเป็นอยู่
แนวทางที่ 3 :
ถ้า ผู้ป่วยมีอาการมากขึ้น และไม่ตอบสนองต่อการรักษา 2 แนวทางแรก แพทย์จะแนะนำให้ทำการผ่าตัด ซึ่งเป็นการผ่าตัดให้กล้ามเนื้อหูรูดระหว่างหลอดอาหาร และกระเพาะอาหารนั้นกระชับขึ้น

ภาวะ กรดไหลย้อนนั้น ควรได้รับการรักษาที่เหมาะสมและต่อเนื่อง การรับประทานยาเฉพาะเวลาที่มีอาการ หรือเฉพาะตอนที่เป็นมาก ๆ มักไม่เพียงพอ ที่จะทำให้หายได้ และเมื่อรักษา จนอาการดีขึ้นแล้ว ก็ควรจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วให้ต่อเนื่อง เพราะโรคนี้ อาจย้อนกลับมาก่อความรำคาญให้ผู้ป่วยได้อีกเรื่อย ๆ ถ้าผู้ป่วยยังมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้นอยู่

เมื่อ ใดที่ผู้ป่วยเป็นโรคนี้ ท่านไม่ควรนิ่งนอนใจ หรือละเลยที่จะตรวจและรักษา หรือดูแลร่างกาย เนื่องจากพบว่าภาวะน้ำกรดไหลย้อนมีส่วนสัมพันธ์กับมะเร็งของกล่องเสียง และมะเร็งของหลอดอาหารด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 40 ปี และมีอาการของโรคนี้มานานเกิน 5 ปี

ที่มา
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

อาการ "ไอ"

อาการ "ไอ"

อาการ " ไอ " เป็น อาการที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด แต่ใช่ว่าต้องป่วยด้วยโรคร้ายดังกล่าวนี้เท่านั้น จึงจะมีอาการไอ หากเป็นแค่โรคหวัดก็ยังทำให้คุณไอได้

วิธีบรรเทาอาการไอ โดยไม่ต้องใช้ยา

ก่อนอื่นเราควรรู้ว่า อาการไอ นั้นถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
  • ไอฉับพลัน จะมีอาการไอไม่เกิน 3 สัปดาห์ และส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อ ในระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น หวัด หลอดลมอักเสบ หรือสูดสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในหลอดลม เช่น ควันบุหรี่ แก๊ส หรือสีสเปรย์
  • ไอเรื้อรัง อาการไอชนิดนี้จะยาวนาน มากกว่า 3 สัปดาห์ขึ้นไป อาจเกิดจากโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง การใช้ยาความดันโลหิตสูงบางชนิดอย่างต่อเนื่อง โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง หรือโรควัณโรค เป็นต้น
หากเริ่มมีอาการไอ คุณสามารถบรรเทาอาการ ที่ปฏิบัติตามแล้วอาจหายขาด หรืออย่างน้อยก็ช่วยลดความทรมาน จากความเจ็บปวดช่วงลำคอ หรือทรวงอกก่อนที่จะไปพบแพทย์

ยาสามัญแสนจะ บริสุทธิ์หาง่ายใกล้ตัว คือ น้ำเปล่าไม่เย็น หรืออุ่น ๆ แต่ไม่ควรร้อน ให้ดื่มบ่อย ๆ ทำให้ชุ่มคอ หรือน้ำผึ้งผสมน้ำมะนาว จิบบ่อย ๆ ช่วยลดอาการไอ

ระหว่างที่มีอาการไอ ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในห้องที่มีอุณหภูมิต่ำ หรืออากาศเย็น หากเลี่ยงไม่ได้ให้ทำร่างกายให้อบอุ่น เช่น สวมเสื้อหนา ๆ หรือสวมถุงเท้า งดรับประทานไอศกรีม เลี่ยงการดื่มและอาบน้ำเย็น งดสูบบุหรี่ หรือสูดดมควันบุหรี่ งดอาหารทอดน้ำมัน

แต่ถ้ามี อาการไอเรื้อรังไม่หาย หรือไม่ทุเลาลงสักที ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของโรคที่แท้จริง เพราะหากอาการไอ ทวีความรุนแรงขึ้น อาจกระทบกับบุคลิภาพ รบกวนการทำงาน หรือใช้ชีวิตประจำวัน ในทางสุขภาพร่างกาย อาจทำให้กระดูกซี่โครงหัก ถุงลม หรือเส้นเลือดฝอยในปอดแตก และยังส่งผลกระทบไปที่ดวงตา และหูได้

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการลดน้ำหนัก

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการลดน้ำหนัก

เนื่องจาก การลดน้ำหนักเป็นสิ่งที่ทำได้ด้วยความยากลำบาก คนที่มีน้ำหนักเกินยังไม่เห็นผลร้าย ที่เกิดกับตนเองในระยะสั้น ๆ ดังนั้นคนทั่วไปจึงมักไม่ค่อยมีความตั้งใจจริง ที่จะลดน้ำหนัก และเมื่อมีความต้องการจะลดน้ำหนัก ก็จะต้องการให้ลดลงไปอย่างรวดเร็ว จึงมีความเชื่อผิด ๆ หรือการโฆณณาชวนเชื่อต่าง ๆ ออกมาอยู่เป็นประจำ ความเชื่อผิด ๆ เหล่านี้ได้แก่
  • ความเชื่อที่ว่าท่านสามารถลด น้ำหนักได้สัปดาห์ละหลาย ๆ กิโลกรัม โดยการรับประทานยา หรืออาหารสำหรับลดน้ำหนัก ซึ่งการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่จะเป็นการขับน้ำออกจากร่างกาย ไม่ใช่ไขมันส่วนเกิน
  • ความเชื่อที่ว่า ท่านจะลดน้ำหนักโดยการอดอาหาร เป็นมื้อ ๆ ไป ถ้าหากหิวก็ให้อดทนเอา วิธีนี้ คงจะเป็นวิธีที่ทรมานที่สุด เพราะท่านอาจจะเป็นโรคกระเพาะเสียก่อน และเมื่อถึงเวลารับประทานมื้อถัดไป ท่านอาจจะรับประทานมากกว่าเดิม
  • ความเชื่อที่ว่า ท่านไม่จำเป็นต้องลดน้ำหนัก เพราะอ้วนกันทั้งครอบครัว ความอ้วนเป็นกรรมพันธุ์ ความเชื่อเหล่านี้ จะยิ่งทำให้อ้วนมากยิ่งขึ้น เพราะจริง ๆ แล้วโรคอ้วน ไม่ใช่กรรมพันธุ์ แต่การสร้างเซลล์ไขมันส่วนเกินได้ง่าย ในครอบครัวของคนอ้วนเป็นกรรมพันธุ์ แต่ก็ป้องกันได้โดยการเลือกอาหารด้วยความระมัดระวัง และการออกกำลังกาย

การลดน้ำหนักที่ถูกต้อง คือ การลดน้ำหนักที่ค่อยเป็นค่อยไป ไม่มีผลต่อร่างกายอย่างรวดเร็ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในการรับประทานอาหารให้เหมาะสม และการออกกำลังกายเท่านั้น ที่เป็นหัวใจของการลดน้ำหนักที่ได้ผลดีที่สุด

ท่านอน

ท่านอน

ทราบหรือไม่ว่า "ท่านอน" แต่ละท่ามีข้อดี และข้อเสียแตกต่างกัน อย่างไร???

ท่านอนหงาย

ถือ ได้ว่าเป็นท่านอนมาตรฐาน แต่การนอนหงายในท่าราบสำหรับคนที่มีอาการปวดหลังนั้น จะทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้น เวลานอนควรใช้หมอนหนุนรองใต้โคนขา หรือวางพาดขาทั้งสองไว้บนเตียงนอน รวมทั้งควรออกกำลังกายเป็นประจำ วันละ 10 - 15 นาที เพื่อช่วยบริหารกล้ามเนื้อหลังลดการเกร็งตัว และบรรเทาอาการปวดหลังได้เป็นอย่างดี

ท่านอนตะแคง

"ท่านอนตะแคงขวา" เป็น ท่านอนที่ดีที่สุด ถ้าเทียบกับการนอนหลับในท่าอื่น ๆ เพราะหัวใจเต้นสะดวก และอาหารจากกระเพาะถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดี และเป็นท่านอน ที่ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้เป็นอย่างดี อีกทั้งท่านอนตะแคง ทั้งตะแคงซ้าย และขวาช่วยลดเสียงกรนได้ ในผู้ที่กรนจากการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ลิ้นไก่ยาว โคนลิ้นหนา ต่อมทอนซิลโตมาก หรือโพรงจมูกอุดตัน

ท่านอนคว่ำ

ท่า นอนคว่ำทำให้หายใจติดขัดไม่สะดวก โดยเฉพาะในผู้หญิงที่มีเต้านมใหญ่ สำหรับผู้ชาย การนอนคว่ำ อาจทำให้อวัยวะเพศถูกทับอยู่ตลอดเวลา จนเกิดอาการชาของอวัยวะเพศได้ ดังนั้น ถ้าจำเป็นต้องนอนคว่ำ ควรหาหมอนรองใต้ทรวงอก