28.4.12

อันตรายจากการใช้ยา

อันตรายจากการใช้ยา 


 

ยาทุกตัวย่อมมีทั้งคุณและโทษควบคู่อยู่ด้วยกันเสมอ ในการใช้ยาจึงต้องรู้ว่าควรใช้อย่างไร ใช้ขนาดเท่าไหร่ ถ้าหากไม่จำเป็นจริง ๆ ก็ไม่ควรใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ อันตรายที่เกิดจากการใช้ยาแบ่งได้ 7 ประเภท ดังนี้

1. การใช้ยาเกินขนาด (Overdosage toxicity) เช่น
  • รับประทานปริมาณมาก ๆ ทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด (Acidosis) แจถึงตายได้
  • พาราเซตามอล จำนวนมาก ๆ ทำให้ถึงตายได้
  • ฟีโนบาร์บิโทน ขนาดมาก ๆ ทำให้กดศูนย์ควบคุมการหายใจ ผู้ป่วยหยุดหายใจถึงตายได้
  • ยารักษาเบาหวานหลายเม็ด อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปจนเป็นลมถึงตายได้
2. ผลข้างเคียงของยา (Side effect) เช่น
  • ทำให้ระคายเคืองต่อกระเพาะ (กัดกระเพาะ) เป็นโรคกระเพาะได้ เช่น ยาแอสไพริน ยาแก้ปวดข้อ สเตอรอยด์ รีเซอร์พีน
  • ทำให้หูหนวก เสียการทรงตัว เช่น สเตรปโตมัยซิน
  • เป็นพิษต่อไต เช่น สเตรปโตมัยซิน ยาประเภทซัลฟา
  • ทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (Agranulocytosis) เช่น ไดพัยโรน ซัลฟา เฟนิลบิวตาโซน ยารักษาคอพอก เป็นต้น
  • ทำให้มีพิษต่อตับ เช่น เตตราซัยคลีน อีริโทรมัยซิน ไอเอ็นเอช ไทอาเซตาโซน เป็นต้น
  • ทำให้มีพิษต่อประสาทตา เช่น อีแทบูทอล คลอโรควีน เป็นต้น
  • ทำให้ฟันเหลืองดำ เช่น เตตราซัยคลีน
3. การแพ้ยา (Drug hypersenstivity)

4. การดื้อยา (Drug allergy) มักจะเกิดกับยาปฏิชีวนะที่ใช้กันอย่างผิด ๆ

5. การใช้ยาในทางที่ผิด และการติดยา (Drug abuse และ Drug dependence) เช่น
  • การติดยามอร์ฟีน เฮโรอีน ยาแก้ปวดที่เข้าคาเฟอีน ยากระตุ้นประสาท แอมฟีตามีน (ยาบ้า ยาขยัน)
  • การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นยาลดไข้
  • การใช้สเตอรอยด์เป็นยาลดไข้ หรือยาลดความอ้วน
  • การใช้เอฟีดรีน หรือแอมฟีตามีนเป็นยาขยัน
  • การใช้น้ำตาลเกลือแร่ (ORS) เป็นยาบำรุงร่างกาย
  • ปฏิกริยาต่อกันของยา (Drug interaction) จะเกิดขึ้นเมื่อมียาเข้าสู่ร่างกายมากกว่า 2 ตัวขึ้นไปพร้อมกัน ซึ่งอาจจะเสริมฤทธิ์กัน หรือำทำให้ฤทธิ์ยาแรงขึ้น หรือต้านฤทธิ์กัน ทำให้ผลการรักษาลดน้อยลงไป เช่น
* แอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์) ถ้ารับประทานพร้อมกับยานอนหลับ ยาแก้แพ้ จะช่วยเสริมฤทธิ์การนอนหลับมากขึ้น
* แอลกอฮอล์ ถ้ารับประทานพร้อมกับแอสไพริน จะเสริมฤทธิ์การระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร
* อีริโทรมัยซิน ถ้ารับประทานพร้อมกับทีโอฟิลลีน จะทำให้ระดับของยาชนิดหลังในกระแสเลือดสูงขึ้น
* เฟนิลบิวตาโซน ไอเอ็นเอช หรือซัลฟา ถ้ารับประทานพร้อมกับยารักษาเบาหวาน จะเสริมฤทธิ์การลดน้ำตาล ทำให้เกดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
* สเตอรอยด์ ไทอาไซด์ หรือแอดรีนาลีน จะต้านฤทธิ์การลดน้ำตาลของยารักษาเบาหวาน ถ้าใช้พร้อมกัน อาจทำให้การรักษาเบาหวานไม่ได้ผล
* บาร์บิทูเรต แอมพิซิลลิน เตราซัยคลีน หรือยารักษาโรคลมชัก (เช่น ไดแลนทิน) ถ้ารับประทานพร้อมกับยาเม็ดคุมกำเนิด จะออกฤทธิ์ต้านยาคุมกำเนิด
* ยาลดกรด ถ้ารับประทานร่วมกับเตตราคลีน หรือยาบำรุงโลหิต จะทำให้การดูดซึมของเตตราซัยคลีน หรือยาบำรุงโลหิตลดน้อยลง
* แอสไพริน จะต้านฤทธิ์การขับกรดยูริกของโพรเบเนซิด (Probenecid) จึงห้ามใช้แอสไพรินในผู้ป่วยโรคเก๊าท์ที่ใช้ยาโพรเบเนซิด

6. การตอบสนองต่อยาในคนที่มีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ เช่น
  • คนที่มีภาวะพร่องเอนไซม์จี-6-พีดี ซึ่งเกิดจากกรรมพันธุ์ ถ้ากินแอสไพรินซัลฟา คลอแรมเฟนิคอล ฟูราโซลิโดน พีเอเอส ควินิน ไพรตาโซนอาจทำให้เกิดโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกได้
  • คนที่เป็นโรคเก๊าท์ ถ้ากินสเตอรอยด์ไทอาไซด์ หรือ แอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์) ก็อาจทำให้โรคกำเริบได้
  • คนที่เป็นเบาหวาน ถ้ากินสเตอรอยด์ ไทอาไซด์ หรือยาเม็ดคุมกำเนิดก็อาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูงได้

ข้อแนะนำ การใช้ยาไม่ให้เป็นโทษ
  1. ทำความรู้จักยาทั้งในแง่สรรพคุณ ผลข้างเคียง ขนาดที่ใช้ ระยะเวลาที่ใช้ ไม่ใช้อย่างเดาสุ่ม อย่างครอบจักรวาล อย่างพร่ำเพรื่อ หรือมากเกินไป
  2. หากมีประวัติการแพ้ยาชนิดใด ควรบอกให้แพทย์ทราบทุกครั้ง
  3. ไม่ซื้อยาชุดจากร้ายขายยาเอง เนื่องจากมักมียาอันตรายผสมอยู่ด้วย เช่น คลอแรมเฟนิคอล เพร็ดนิโซโลน

โรคเชื้อราที่เท้า

คุณคงเคยได้ยินชื่อ โรคฮ่องกงฟุต กันมาบ้างแล้ว ...โรคใกล้ตัวที่คุณก็มีโอกาสเป็นได้





คืออาการคันที่เกิดจากเชื้อราที่เท้า ซึ่งคอยก่อกวนบรรดานักกีฬาที่นิยมออกกำลังจนเหงื่อออก เท้าอับชื้น เสมอๆ ไม่เพียงแต่เหล่านักกีฬาที่มักเป็นโรคนี้ แต่คุณเองที่บางทีอาจแค่นั่งๆ นอนๆ ดูโทรทัศน์อยู่กับบ้านก็มีโอกาสเป็นเชื้อราที่เท้าได้เหมือนกัน ใครที่เป็นถ้าไม่รีบรักษา ปล่อยไว้อาจลุกลามจนกลายเป็นโรคเรื้อรัง

เรื่องน่ารู้ของโรคฮ่องกงฟุต
1. เมื่ออากาศร้อนๆ และเท้าชื้นมากๆ ประกอบกับมีเหงื่อออกด้วย จึงเป็นบ่อเกิดของเชื้อราที่เรียกว่า Dermatophytes เนื่องจากเชื้อราจะเจริญและแพร่พันธุ์ได้ดีมากในอากาศร้อนชื้น

2. Tinea คือ ชื่อสามัญของการติดเชื้อที่ผิวหนัง Tinea pedis (pedis หมายถึง เท้า ในภาษาลาติน) คือโรคเชื้อราที่เท้า Jock itch หรือ tinea cruris (cruris หมายถึง ขา) คือการติดเชื้อที่ผิวหนังบริเวณขาหนีบ ต้นขา ข้อพับต้นขา มีอีกชื่อหนึ่งว่า สังคัง Ringworm หรืออีกชื่อหนึ่งว่า tinea capitis (capitis หมายถึง ศีรษะ) คือ กลากที่ศีรษะ

3. การติดเชื้อส่วนใหญ่มักมาจากการใช้ของร่วมกับผู้อื่น เช่น ใช้ผ้าเช็ดตัว ใส่รองเท้าร่วมกับผู้อื่น หรือว่ายน้ำในสระสาธารณะ ซึ่งสิ่งของและที่เหล่านี้เป็นที่ที่เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี

4. อาการของโรคเชื้อราที่เท้า
. คันตามซอกนิ้วเท้า และผิวลอกออกเป็นขุยๆ
. เป็นผื่นที่เท้า
. ผิวหนังที่เท้าเกิดพุพอง
. นิ้วเท้าหนาและแตก
ที่เป็นมากและพบบ่อยจะเกิดตรงซอกนิ้ว แต่ก็สามารถเกิดที่ส้นเท้า และ อาจลุกลามไปถึงฝ่าเท้าและเล็บเท้าได้

5. การรักษาโรคเชื้อราที่เท้า
ล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่ และเช็ดหรือเป่าให้แห้ง
ใส่ถุงเท้าและรองเท้าที่สะอาด และไม่เปียกชื้น
ใช้ครีมกันเชื้อรา หรือโรยแป้งฝุ่นที่เท้า
เท้า ต้องสะอาดและแห้งเสมอ ใช้แป้งหรือครีมกันเชื้อรา ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นหรือกำเริบ ควรพบแพทย์เพื่อที่ได้สั่งยาต้านเชื้อราได้ถูกต้อง และวินิจฉัยสาเหตุอื่นของอาการเหล่านั้น

6. ป้องกันได้อย่างไร
. ใส่ถุงเท้าและรองเท้าที่แห้ง
. เช็ดหรือเป่าเท้าให้แห้งโดยเฉพาะซอกเท้าหลังจากอาบน้ำ
. ใส่ถุงเท้าที่ทำด้วยขนสัตว์ดีกว่าผ้าฝ้ายเพราะผ้าขนสัตว์ช่วยซับความชื้นจากเท้า
. ถ้าเท้าเปียกโชก ควรเปลี่ยนรองเท้า
. ควรมีรองเท้า 2 คู่ ใส่สลับกัน ไม่ควรใส่รองเท้าคู่เดิมทุกวัน
แม้ ว่าจะใส่รองเท้าแตะในที่อาบน้ำหรือสระน้ำสาธารณะเพื่อป้องกันการติดเชื้อรา แล้วก็ตาม แต่วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการทำให้เท้าแห้ง

7. โรคแทรกซ้อน หรือที่เรียกว่า cellylitis คือการที่ผิวหนังอักเสบ เกิดในรายที่รุนแรง และสามารถรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
เท้าสำคัญกว่าที่คุณคิด

ความสำคัญกับเท้ามากนัก ทั้งที่จริงแล้วเท้ามีหน้าที่สำคัญหลายประการ เช่น เวลาที่คุณยืน เท้าต้องทำหน้าที่รองรับน้ำหนักตัว สร้างความสมดุลย์ทั้งในขณะยืน เดิน และวิ่ง เป็นต้น เท้ายังมีหน้าที่อื่น ๆ อีกมากมาย แต่เพียงแค่นี้คุณก็คงพอจะเห็นแล้ว ว่าเท้าของคุณสำคัญกว่าที่คุณคิด และเมื่อเกิดความผิดปกติกับเท้าคุณ อาจบั่นทอนความสะดวกในการดำเนินกิจกรรมประจำวันของคุณ

ตัวอย่างง่าย ๆ คุณรักษาความสะอาด ผิวหนังที่ฝ่าเท้า และง่ามเท้าของคุณดีหรือยัง?? ถ้าหมักหมมไว้ไม่ดูแล เชื้อราจะก่อโรคขึ้นง่าย ๆ

โรคฮ่องกงฟุตหนึ่งในโรคเชื้อราที่พบได้บ่อย

โรคฮ่องกงฟุตเป็นโรคเชื้อราที่เท้า เกิดจากเชื้อกลากเดอร์มาโตไฟต์ เริ่มต้นโรคจะมีอาการคันที่ผิวหนังของง่ามนิ้วเท้า หรือฝ่าเท้าที่ง่ามนิ้วเท้าระหว่างนิ้วก้อยกับนิ้วนาง จะพบผิวหนังมีลักษณะเปื่อยยุ่ย และปริออกจากกัน และมีการกระจายตัวไปยังบริเวณผิวหนังใต้นิ้วเท้าที่เป็นโรค

ในบางราย อาจพบตุ่มน้ำพองใสเป็นปื้น ที่ผิวหนังบริเวณฝ่าเท้า ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นแผ่นสะเก็ดแห้ง ๆ และหนาตัวขึ้น ในระยะเรื้อรัง คนที่เป็นโรคฮ่องกงฟุต อาจพบโรคเชื้อราที่เล็บเท้าร่วมด้วยก็ได้

คุณจะป้องกันการติดโรคฮ่องกงฟุตได้อย่างไร

  • แหล่ง รวมเชื้อ ได้แก่ ห้องอาบน้ำรวม เช่น ของนักกีฬา หรือโรงทหาร ซึ่งเชื้อราจากผู้ที่เป็นโรคนี้จะหลุดออกมาอยู่ที่พื้นห้องน้ำ และติดต่อไปยังเท้าผู้อื่นได้ ห้องอาบน้ำรวมจึงควรใช้ยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดพื้นห้องน้ำอย่างสม่ำเสมอ
  • ดูแลเท้า โดยเฉพาะง่ามนิ้วเท้าให้แห้งสะอาด
  • ควรเปลี่ยนถุงเท้าทุกวัน และดูแลพื้นภายในรองเท้า ให้แห้งอยู่เสมอ เช่น นำไปตากแดด หรือผึ่งลม และควรมีรองเท้าสับเปลี่ยนกัน
  • หากจำเป็นต้องลุยน้ำ หลังจากนั้น ก็ให้ล้างเท้าด้วยสบู่ให้สะอาด เช็ดเท้าให้แห้ง และเช็ดผิวหนังด้วยแอลกอฮอล์อีกครั้งหนึ่ง

เมื่อพบความผิดปกติที่เท้าควรทำอย่างไร

โรค ผิวหนังที่เท้ามีอยู่หลายโรคด้วยกัน และเกิดได้จากหลายสาเหตุ เมื่อท่านพบ อาการผิดปกติเกิดขึ้นที่เท้า จึงควรให้แพทย์วินิจฉัยเสียก่อนว่า เป็นโรคอะไรกันแน่ หากเป็นโรคเชื้อราก็วินิจฉัยได้จากการตรวจเพาะเชื้อ

การรักษาโรคฮ่องกงฟุต
  1. ใช้ยาทาซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น ครีม ขี้ผึ้ง ยาน้ำ ผงซึ่งมีสารฆ่าเชื้อราผสมอยู่ด้วย
  2. ยารับประทาน มีทั้งชนิดกดความเจริญของเชื้อ หรือฆ่าเชื้อโดยตรงซึ่งแพทย์เป็นผู้รักษา และจ่ายยา

บุคคลที่มีโอกาสติดโรคเชื้อราได้ง่าย

  • นักกีฬา และทหาร เนื่องจากเท้าอับชื้นจากการใส่ถุงเท้า และรองเท้าอยู่ตลอดเวลา ทำให้เท้าเปียกชื้น และอับชื้น ซึ่งเหมาะแก่การก่อโรค และเจริญเติบโตของเชื้อราที่เป็นต้นเหตุ
  • คนไข้โรคเบาหวาน
  • กลุ่มคนไข้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือคนที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน

ข้อควรระวัง
ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง นอกจากแพทย์ หรือเภสัชกรเป็นผู้ให้การรักษา ถ้ามีปัญหาเรื่องโรคเชื้อรา ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังหรือเภสัชกร

18.4.12

คุณเป็น"ทาส"คอมฯ ต้องโซ้ยมะม่วง!

 

ถ้าคุณเป็น"ทาส"คอมฯ ต้องโซ้ยมะม่วง!

ปัจจุบันการทำงานในอาชีพต่าง ๆ คงหลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับเรื่องการใช้คอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่กระทั่งนักเรียนนักศึกษา การใช้คอมพิวเตอร์นาน ๆ จะทำให้ดวงตาของเราเมื่อยล้า และเสื่อมประสิทธิภาพได้ง่าย ดังนั้นต้องบำรุงสายตาเพื่อจะได้ใช้งานนาน ๆ
ผักใบเขียวนานาชนิดมีส่วนช่วยในการบำรุงสายตาอย่างมาก แต่บางคนอาจไม่ชอบทานผัก ไม่เป็นไร เพราะยังมีผลไม้ที่ช่วยบำรุงสายตา นั้นคือ "มะม่วง" สุดยอดผลไม้บำรุงสายตา

จักษุแพทย์ผู้ เชี่ยวชาญพบว่า "มะม่วง" เป็นผลไม้วิเศษในการถนอมรักษาสายตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสายตาของผู้สูงอายุ ซึ่งมักจะเสื่อมโทรมลงตามวันเวลาที่ล่วงไป




จักษุ แพทย์ของศูนย์แพทย์โรคตาในสหรัฐฯ ได้ระบุว่า "มะม่วง" เป็นผลไม้ที่ช่วยบำรุงรักษาสายตาได้อย่างดียิ่งเสียกว่าหัวผักกาดแดง เพราะมะม่วงอุดมไปด้วยวิตามิน ซี และ อี กับ เบตาแครโรทีน อันเป็นตัวต้านอนุมูลอิสระทั้งสิ้น

สารทั้งสามอย่างจะช่วยต่อต้านตัว อนุมูลอิสระ ที่เป็นเหตุให้สายตาต้องเสื่อมเลวลง "เราได้รู้ข้อเท็จจริงอยู่แล้วว่า พวกอนุมุลอิสระ ยิ่งช่วยบ่อนทำลายสายตาที่เสื่อมลง เนื่องมาจากกล้ามเนื้อลูกตาอ่อนแรงให้หนักขึ้น" เขายังแนะนำว่า หากไม่กินมะม่วง ก็อาจจะเลือกกินผล "กีวี" ก็ได้ เพราะ ลูกกีวีมีโปแตสเซียมสูง ช่วยลดความเสี่ยงของการสูญเสียสายตาของผู้สูงอายุ ที่มีอาการความดันโลหิตสูงอยู่ด้วยได้