14.9.12

สารกันบูดใน "ก๋วยเตี๋ยว"

สารกันบูดใน "ก๋วยเตี๋ยว"





<< อันตรายจากเส้นก๋วยเตี๋ยว >> 


อันตรายจากเส้นเล็กและเส้นหมี่  ถ้ารับประทานมากๆ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคตับและโรคไตสูง ผลวิจัยชี้เส้นก๋วยเตี๋ยวมหาภัย เติมสารกันบูดเกินมาตรฐานอื้อโดยเฉพาะเส้นเล็ก และเส้นหมี่ เสี่ยงตับไตพัง

เผยบะหมี่เหลือง-วุ้นเส้นปลอดภัยกว่า แนะผู้ประกอบการอย่าโลภผลิตขายข้ามจังหวัดจนต้องใส่สารกันบูด จำนวนมาก ก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารที่คนไทยนิยมบริโภค และเส้นก๋วยเตี๋ยวเป็นวัตถุดิบที่ใช้ปรุงอาหารได้หลายชนิด ทำให้มีการแข่งขันทางการตลาดสูง จากก๋วยเตี๋ยวส่วนใหญ่เป็นเส้นสดที่ค้างหลายวันไม่ได้ ผู้ประกอบการจึงมีการเติมสารกันบูด เพื่อยืดอายุเส้นก๋วยเตี๋ยว ทำให้ยืดระยะเวลาการจำหน่าย ซึ่งสารกันบูดที่นิยมใช้คือ กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก 
ถ้าร่างกายได้รับปริมาณสูงเป็นเวลานานจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของตับและไตลดลง ดังนั้น คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานอาหารสากล (Codex) ได้กำหนดให้ใช้กรดเบนโซอิกในเส้นก๋วยเตี๋ยวได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
ผลการตรวจวิเคราะห์พบปริมาณกรดเบนโซอิกตั้งแต่ 1,079-17,250 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณที่กำหนดกรดเบนโซอิกในเส้นก๋วยเตี๋ยวตามมาตรฐานสากล โดย
ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็ก 17,250 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
เส้นหมี่ 7,825 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
ก๋วยจั๊บเส้นใหญ่ 7,358 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
ก๋วยจั๊บเส้นเล็ก 6,305 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
บะหมี่โซบะ 4,593 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ 4,230 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

ผอ.ศูนย์ วิทยาศาสตร์การแพทย์กล่าวว่า จากผลวิจัยดังกล่าวทำให้ความเชื่อเดิม ที่คิดว่าเส้นหมี่ ซึ่งมีลักษณะแห้งจะมีวัตถุกันเสียน้อย แต่จะพบมากในเส้นใหญ่ที่มีความชื้นสูงนั้น ข้อเท็จจริงปรากฏว่า กลับมีการใส่วัตถุกันเสียเยอะมากเป็นอันดับ 2 รองจากเส้นเล็ก ส่วนเส้นที่ไม่พบสารเลยคือ เส้นบะหมี่เหลืองเพราะผลิตจากแป้งสาลี ส่วนเส้นอื่นๆ จะผลิตจากแป้งข้าวเจ้าที่มีความชื้นสูง ทำให้ราขึ้นง่าย  จึงมีการใส่วัตถุกันเสีย ขณะที่วุ้นเส้นไม่มีปัญหาเช่นกันไม่ต้องสงสัยเลยว่า ณ วันนี้ “ก๋วยเตี๋ยว” คือ อาหารจานโปรดของคนมากมาย เพราะทั้งกินง่าย ปรุงรสได้ดั่งใจ ราคาไม่แพง พื้นฐานทางโภชนาการของก๋วยเตี๋ยวแต่ละชามนั้นถือว่าสอบผ่าน เพราะมีครบทั้ง 5 หมู่ ทั้งแป้ง โปรตีน และผักประกอบ ยิ่งเป็นชามที่ใส่ถั่วงอก ตำลึง โหระพา ผักกาด โรยด้วย ต้นหอม ผักชี ยิ่งวิเศษ ยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นอาหารที่ปรุงร้อน ๆ ทีละชาม จึงช่วยลดควมเสี่ยงต่อเชื้อโรคได้มาก

ฉะนั้น คนรักก๋วยเตี๋ยวจึงจัดว่าเป็นคนมีวิสัยทัศน์อย่างแท้จริง เพราะอาหารชามนี้ให้ทั้งความโอชา และอนามัยครบในชามเดียว

แต่ช้าก่อน...

ไม่ ช้าไม่นานมานี้มีข่าวเตือนภัยคอก๋วยเตี๋ยวจาก ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุบลราชธานี ที่ลงมือทำวิจัยชิ้นสำคัญเรื่อง “ความปลอดภัยในเส้นก๋วยเตี๋ยว ในเขตภาคอีสาน” และพบเงื่อนปมเกี่ยวกับปัญหาสารปนเปื้อน ในเส้นก๋วยเตี๋ยวเข้าอย่างจัง ซึ่งถือเป็นข้อมูลที่ผู้บริโภคควรรู้ และให้ความสนใจ เพื่อป้องกันภัยแก่ตนเองยามสั่งก๋วยเตี๋ยวแต่ละชามมาชิม

สารกันบูดในเส้นก๋วยเตี๋ยว

ก๋วยเตี๋ยว ส่วนใหญ่เป็น “เส้นสด” ที่ค้างหลายวันไม่ได้ ผู้ประกอบการจึงเติม “สารกันบูด” หรือ “สารกันเสีย” ลงไปเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการจำหน่าย โดยสารกันบูดที่นิยมมาก คือ กรดเบนโซอิก และ กรดซอร์บิก ซึ่งเป็นสารที่หากร่างกายได้รับปริมาณสูงเป็นเวลานาน จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของตับ และไตลดลง

คณะกรรมการกำหนด มาตรฐานอาหารสากล (Codex) ได้กำหนดให้ใช้กรดเบนโซอิกในเส้นก๋วยเตี๋ยวได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แต่ผลจากการตรวจวิเคราะห์ ตัวอย่างเส้นก๋วยเตี๋ยวใน 4 จังหวัดภาคอีสาน คือ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร และศรีสะเกษ พบผลที่น่าตระหนก เพราะเส้นก๋วยเตี๋ยวทุกประเภทที่เก็บมาตรวจวิเคราะห์ ล้วนแต่พบปริมาณสารกันบูดเกินมาตรฐานถึง 4 เท่าตัวขึ้นไป ดังนี้
  • “เส้นเล็ก” พบปริมาณกรดเบนโซอิกสูงสุด 17,250 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
  • “เส้นหมี่” พบปริมาณกรดเบนโซอิกสูงสุด 7,825 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
  • “เส้นก๋วยจั๊บ” พบปริมาณกรดเบนโซอิกสูงสุด 7,358 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
  • “บะหมี่โซบะ” พบปริมาณกรดเบนโซอิกสูงสุด 4,593 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
  • “เส้นใหญ่” พบปริมาณกรดเบนโซอิกสูงสุด 4,230 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

“จาก ผลการวิจัยดังกล่าว ทำให้ความเชื่อเดิมที่คิดว่า เส้นหมี่ ซึ่งมีลักษณะแห้ง น่าจะมีวัตถุกันเสียน้อย และน่าจะพบในเส้นใหญ่ ซึ่งมีความชื้นสูงนั้น แต่ข้อเท็จจริงเส้นใหญ่กลับเป็นรองเส้นเล็ก แต่ที่น่ายินดีคือ "เส้นบะหมี่เหลือง" และ "วุ้นเส้น" เป็นเส้นที่ไม่พบปริมาณสารกันบูดเกินมาตรฐานเลย เพราะผลิตจากแป้งสาลี ส่วนเส้นชนิดอื่น ๆ จะผลิตจากแป้งข้าวเจ้า ที่มีความชื้นสูง ทำให้ราขึ้นง่าย จึงมีการใส่วัตถุกันเสียอย่างหนัก”

แม้การตรวจวิเคราะห์ในครั้งนี้จะทำเฉพาะเขตภาคอีสาน แต่คาดว่าเส้นก๋วยเตี๋ยวทั้งประเทศน่าจะมีปัญหาไม่ต่างกัน

เมื่อ คิดค่าเฉลี่ยน้ำหนักผู้บริโภคคนไทย คือ 50 กิโลกรัม ดังนั้น ปริมาณสูงสุดที่ควรบริโภคคือไม่เกิน 250 มิลลิกรัม/วัน ซึ่งการกินก๋วยเตี๋ยว 1 มื้อ จะมีเส้นประมาณ 50-100 กรัม เท่ากับว่าผู้บริโภคจะได้รับกรดเบนโซอิกอีกประมาณ 226-451 มิลลิกรัม ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว และเมื่อรวมกับปริมาณวัตถุกันเสียในอาหารอื่น ๆ ที่กินในแต่ละวัน เท่ากับว่า ผู้บริโภคจะได้รับสารนี้จำนวนมาก

นอกจากนี้สารกัน บูดในก๋วยเตี๋ยวไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า อีกทั้งรสชาติของเส้นที่ใส่สารกันบูด กับเส้นที่ไม่ใส่ ไม่มีความแตกต่างกัน และการลวกเส้นก๋วยเตี๋ยวด้วยน้ำเดือด ก็ไม่สามารถทำลายสารกันบูดได้ เพราะผสมเป็นเนื้อเดียวกับเส้นไปแล้ว

อย. มีข้อแนะนำให้สังเกตเมื่อกินก๋วยเตี๋ยวว่า ที่กินนั้นมีสารกันบูดหรือไม่ โดย...
  1. ถ้าใส่สารเคมีเส้นก๋วยเตี๋ยวจะ “เหนียวหนึบ” กัดไม่ค่อยขาดจากกัน อีกทั้งเส้นที่ใส่สารกันบูดเมื่อนำลวกในหม้อ สังเกตว่าน้ำที่ลวกจะ “ขุ่น”
  2. เส้นก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ หรือเส้นสดที่ใส่สารกันบูด ทิ้งไว้ 2-3 วัน สีสันจะคงเดิม แต่หากมาดมกลิ่นจะ “เหม็นเปรี้ยว” ผิดกับเส้นที่ไม่ใส่สารกันบูด หากทิ้งไว้เพียงคืนเดียว เส้นก็ขึ้นราและบูด


ที่มา
ภก.วรวิทย์ กิตติวงสุนทร ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุบลราชธานี

สัญญาณร้าย (ของร่างกาย) ไม่ใช่คำขู่

สัญญาณร้าย (ของร่างกาย) ไม่ใช่คำขู่ 

 

โรคร้ายและโรคแปลกที่เกิดขึ้นมาให้เราผวากัน ที่จริงก็ไม่ใช่จู่โจมเราไม่ให้สุ้มเสียง หากแต่เป็นเพราะ เราปล่อยตัวให้เป็นรังรับเชื้อเองต่างหาก
ก่อนจะเกิดเหตุใหญ่ใดขึ้นมา ย่อมมีสัญญาณเตือนขึ้นมาก่อน เป็นต้นว่า ก่อนเกิดสึนามิก็ต้องมีปลาน้ำลึกหนีตายขึ้นมาเกยตื้นกัน หรืออย่างเวลาใกล้จะดับ จิตใบหน้าจะผุดผ่องเป็นยองใย ดังที่โบราณเรียกว่า “หน้าขึ้นนวล” หรือบางท่านที่ป่วยหนัก ก็อาจจู่เกิดมีแรงกำลังขึ้นมานั่งกินนั่งพูดกันได้อีก ก่อนจะทรุดหนักลงในวันในพรุ่งแล้วก็ลาโลกไป

ในส่วนของโรคร้าย และโรคแปลก ที่เกิดขึ้นมาให้เราผวากันอย่างตอนนี้ก็เหมือนกัน ที่จริงก็ไม่ใช่มันจู่โจมเราไม่ให้สุ้มเสียง หากแต่เป็นเพราะเราปล่อยตัวให้เป็นรังรับเชื้อเองต่างหาก พอร่วมกับการตรวจทันสมัย ที่จับเชื้อโรคได้อยู่หมัดเป็นตัว ๆ นี้ เลยทำให้ดูเหมือนว่ามีเชื้อน่ากลัวมาแอบซุ่มทำร้ายเราอยู่รอบตัว ซึ่งที่จริงแล้วไม่ใช่ดังนั้นเลย

ก่อนเกิดโรคร้ายในกายเรา มันมักจะฟักตัวเริงร่าอยู่ในตัวเรามาพักหนึ่งแล้วครับ ไม่ใช่ว่าจะอยู่ดี ๆ ผุดขึ้นมาเหมือนผีจับยัดได้ ดังตัวอย่างที่เห็นชัด คือ โรคมะเร็ง กว่าที่จะมาโตใหญ่เป็นก้อนคลำได้นี่ มันต้องผลัดลูกสร้างหลานมาแล้วนับล้าน ๆ ตัว จนวิ่งวุ่นเข้าไปในเส้นเลือดเราได้ แล้วจึงได้โผล่เป็นก้อนใหญ่ขึ้นมาให้ได้เห็น

จึงสังเกตได้ว่า เมื่อรู้ว่าเป็นมะเร็งตอนเห็นก้อน มันก็มักจะลามไปไหนต่อไหนแล้ว ที่จริงมันก็ให้สัญญาณเรามาก่อนไม่น้อยนะครับ แต่บางทีเราถูกงานรัดตัว หรือขอผลัดไม่สนใจไว้สักชั่วขณะหนึ่ง แต่เพียงไม่นานมันก็อาจเติบใหญ่จนเกินควบคุมได้

สัญญาณเตือนภัยนี้ ท่านสามารถใช้สังเกตตัวเองก็ได้ หรือคนรอบข้างก็ได้ไม่ยากเลยครับ
  1. เบื่ออาหาร
  2. ผอมลงผิดปกติ (น้ำหนักตัวลดมากกว่า 2 กิโลกรัมต่อเดือน)
  3. หงุดหงิดง่าย อารมณ์ปรวน
  4. ปวดเมื่อยตัวน่ารำคาญ
  5. มึนศีรษะแบบไม่สดชื่น
  6. มีไข้หนาว ๆ ร้อน ๆ
  7. หน้าตา หู ดูแดงก่ำฉ่ำ ราวกับมีความร้อนระอุอยู่ภายใน

สรุป ง่าย ๆ ว่าถ้าจู่ ๆ มีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยเป็นมาก่อนเกิดขึ้น ไม่ว่าจะทางกายหรือแม้แต่อารมณ์จิตใจก็ตามที แสดงว่าต้องมี “เหตุ” ไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้น เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องหา “ผู้ร้าย” รายให้เจอโดยเร็ว อย่าปล่อยให้ซ่องสุมผู้คนมาตีท้ายครัวเรา แล้วท้ายสุดก็ยากสุดเกินที่จะแก้

นอกจากนั้น การแก้ปัญหาเมื่อเกิดโรคร้ายขึ้นทุกครั้ง หาใช่การวิ่งโร่ไปหา โรงพยาบาลไม่ เพราะบางทีสถานพยาบาลก็เป็นแหล่งรวม “ดาวร้าย” หลายโรคกว่าที่เรานึกถึงนัก ถ้าเราพากายที่กะปรกกะเปลี้ยอ่อนแอเหลือหลายไปหา อาจเท่ากับพาตัวไปเป็นบ้านหลังใหม่ให้เชื้อเข้ามาเกาะ

ขอ ให้รู้เถิดครับ ว่านอกจากตัวเราเป็นหมอที่ดีที่สุดให้ตัวเองได้แล้ว บ้านที่รักของเราก็ยังเป็นโฮมสวีทโฮม สำหรับการรักษาอาการเจ็บป่วยได้ดีกว่าโรงพยาบาลไหน ๆ อีกด้วย

ดัง นั้น ต่อไปยามป่วยไข้หรือคนใกล้ตัวไม่สบาย ขอให้มั่นใจในศักยภาพของตัว เรานะครับที่เขาจะต้องทำหน้าที่ของเขาแน่เหมือนที่ลอร์ดเนลสันเคยบอกลูก ประดู่อังกฤษก่อนเข้าทำยุทธนาวีกับนโปเลียนว่า “England confides that every men will do his duty” ที่เหลือก็คือ หน้าที่ของท่านในการคอยเฝ้า

“ทำหน้าที่” สังเกตตัวเองเช่นกัน

ขอท่านที่รักเพียงแค่ “ตื่นตัว” แต่ไม่ต้อง “ตื่นกลัว” นะครับ แค่เงี่ยหูฟังแล้วท่านจะได้ยินเสียงกายร้องได้ชัดขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ครับ

ที่มา
นพ. กฤษดา ศิรามพุช
พบ. (จุฬาฯ) ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ

โรคลำไส้แปรปรวนอันตรายของคนเมือง




      เคยรู้สึกไหมว่ามีลมในกระเพาะมาก และเป็นคนเครียดจัดหรือไม่ ระวังจะเป็นโรคลำไส้แปรปรวน

       คยรู้สึก เหมือนมีลมอยู่ในท้อง ต้องเรอหรือผายลมบ่อยๆ มีอาการท้องเสียสลับท้องผูกกันบ้างหรือเปล่าคะ อาการมากมายจนสับสนไปหมดไม่รู้ว่าเป็นอะไรกันแน่ ดังนั้นมาหาคำตอบเพื่อไขข้อข้องใจ พร้อมกับรับมือกับอาการแปรปรวนเหล่านี้กันค่ะ
โรคลำไส้แปรปรวน คืออะไร
        นพ.ณัฏฐากร วิริยานุภาพ แพทย์อายุรกรรมโรคระบบทางเดินอาหารและตับ ได้ให้ความรู้ว่า โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) คือ โรคของลำไส้ที่บีบตัวผิดปกติ โดยตรวจไม่พบก้อนเนื้องอกด้วยการส่องกล้องตรวจลำไส้ จึงลงความเห็นว่าเป็นโรคลำไส้แปรปรวน ซึ่งเป็นโรคที่พบบ่อยในระบบทางเดินอาหาร และพบมากในคนวัยทำงานที่มีอายุ 30-50 ปี ซึ่งในปัจจุบันขยายผลไปยังกลุ่มวัยรุ่นเพิ่มขึ้น

   เช็คอาการเตือนจากร่างกายด้วยตัวเอง
       การสังเกตความผิดปกติในเรื่องระบบขับถ่ายของตัวเราเอง เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้รู้ว่าระบบภายในร่างกายมีความผิดปกติหรือ เปล่า อย่างโรคลำไส้แปรปรวน จะมีสัญญาณเตือนออกมาในรูปแบบของระบบการขับถ่ายที่ผิดปกติ และมักมีอาการเด่นชัด ดังนี้

      มีอาการปวดท้อง โดยอาจจะปวดบริเวณกลางท้อง หรือปวดบริเวณท้องน้อย แต่โดยทั่วไปจะปวดท้องน้อยด้านซ้าย ลักษณะอาการปวดมักจะปวดแบบเกร็ง
      มีอาการแน่นท้อง ท้องอืด
      มีอาการท้องโตขึ้น เหมือนมีลมอยู่ในท้อง อาจมีอาการเรอหรือผายลมบ่อย
      มีอาการถ่ายผิดปกติ เช่น ท้องผูก ท้องเสีย หรืออาจมีท้องผูกสลับท้องเสีย บางรายอาจมีความรู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุด
      การขับถ่ายอุจจาระมีลักษณะเหลว หรือเป็นมูกร่วมด้วย แต่จะไม่มีเลือด อาการมักจะเป็นๆ หายๆ มากน้อยสลับกันและมีอาการเกิน 3 เดือน

   รู้ทันสาเหตุ ห่างไกลโรคลำไส้แปรปรวน

       การป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บอย่างหนึ่งคือ การรู้เท่าทันต้นตอสาเหตุของโรค หากเรารู้จุดเริ่มต้นของโรคนี้ว่าเกิดจากอะไรก็จะได้ไม่ต้องเผชิญกับเส้นทาง เดียวกับโรคนี้ และเป็นหนทางที่จะทำให้รับมือกับโรคภัยที่จะเกิดขึ้นกับตัวเราเองได้ดีที่ สุด ถึงแม้ปัจจุบันจะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของการเกิดโรค แต่จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรคนี้มี 3 อย่างได้แก่

      1.เกิดจากการบีบตัวของลำไส้ผิดปกติ เป็นผลมาจากการหลั่งสารหรือฮอร์โมนที่ผิดปกติบางอย่างในผนังลำไส้ ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องผูก หรือท้องเสียขึ้นได้
      2.เกิดจากระบบประสาทที่ผนังลำไส้ไวต่อสิ่งเร้า หรือตัวกระตุ้นมากผิดปกติ ตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติ ได้แก่ อาหารที่มีรสเผ็ด เปรี้ยว กาแฟ แอลกอฮอล์ ช็อกโกแลต รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ได้แก่ ความเครียด ความวิตกกังวลเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดการบีบตัวของลำไส้ผิดปกติ ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องผูกหรือท้องเสียได้
      3.เกิดจากความผิดปกติในการควบคุมการทำงานของลำไส้ โดยปกติแล้วประสาทรับความรู้สึกที่ผนังลำไส้ ระบบกล้ามเนื้อของลำไส้ และสมอง จะทำงานสอดคล้องกัน แต่หากสารที่ควบคุมการทำงานของลำไส้เกิดความผิดปกติก็จะส่งผลให้การทำงานของ ลำไส้แปรปรวนได้

   2 แนวทาง รับมือโรคลำไส้แปรปรวน
       หากใครที่กำลังเผชิญกับสภาวะลำไส้แปรปรวนไม่ควรกังวล แต่จะต้องกล้าเผชิญพร้อมรับมือ และจัดการกับโรคที่กำลังสร้างความรำคาญให้ชีวิตอยู่นั้นให้ได้ ด้วยการรักษาที่ถูกต้อง และหมั่นดูแลร่างกาย จิตใจให้ผ่อนคลายอยู่เสมอ โดยวิธีการที่จะควบคุมกับโรคนี้มีดังนี้

      วิธีแรกคือ การกินยา (ตามคำแนะนำของแพทย์) โดยยาที่ใช้รักษาจะเป็นยาที่รักษาตามอาการ เพราะยังไม่มียาชนิดใดที่รักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ เช่น กลุ่มคนที่มีอาการปวดท้อง อาจจะกินยาที่ช่วยคลายการบีบตัวของลำไส้ ลดอาการปวดเกร็ง กลุ่มคนที่มีอาการท้องอืด มีลมในท้อง อาจจะกินยาลดแก๊สในกระเพาะ หรือยาขับลม ส่วนกลุ่มคนที่มีอาการท้องผูก อาจจะกินยาที่ช่วยเพิ่มไฟเบอร์ หรือยาระบายอ่อนๆ ซึ่งการรักษาจะต้องรักษาตามอาการเพราะยังไม่มียาชนิดใดที่สามารถรักษาครอบ คลุมอาการทุกอย่างได้

      นอกจากการรักษาด้วยยาแล้ว วิธีที่สำคัญอีกอย่างที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคคือ การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เพราะโรคนี้มีโอกาสเป็นๆ หายๆ และส่วนใหญ่จะมีอาการที่เป็นมานานแล้ว ไม่ได้เป็นแค่ระยะเวลาสั้นๆ ดังนั้นคนที่มีอาการส่วนใหญ่มักจะพฤติกรรมการกินที่ไม่ถูกต้อง

   ตามใจปาก โรคลำไส้แปรปรวนถามหา

       เคยได้ยินกันบ้างไหมว่า กินอะไรร่างกายก็ได้อย่างนั้น ดังนั้นการปฏิบัติตัวในเรื่องการกินจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด หากกินผิดไม่ใช่แค่โรคลำไส้แปรปรวนเท่านั้น ยังก่อให้เกิดโรคร้ายอื่นๆ ตามมาเพราะการกินนั่นเอง

   แยกแยะอาการยาก รบกวนการดำเนินชีวิต
      ลักษณะอาการของโรคลำไส้แปรปรวนจะคล้ายคลึงกับอาการท้องเสียจึงมักแยกแยะ ลำบาก ทำให้บางครั้งเกิดการปล่อยปละละเลย ไม่ไปพบแพทย์เพราะคิดว่าท้องเสียกินยาเอง นอนพักผ่อนเดี๋ยวก็หาย แต่ผลกลับกัน บางรายอาจจะมีอาการเป็นๆ หายๆ และเป็นมานาน ทำให้สร้างความรำคาญและทุกข์ทรมานใจจนเกิดความวิตกกังวลว่า ทำไมไม่หายสักที ผลที่ตามมาคือเป็นโรคเครียด ซึ่งโรคเครียดนี่แหละที่เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้โรคลำไส้แปรปรวน กำเริบขึ้นมาอีก

   ความเครียด ตัวอันตรายทำให้เกิดโรคลำไส้แปรปรวน

      ความเครียดเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลทำให้โรคลำไส้แปรปรวนแสดงอาการรุนแรงมาก ขึ้น เพราะเมื่อเครียดสมองจะมีการหลั่งสารบางอย่างออกมาส่งผลให้ลำไส้แปรปรวน ยิ่งในยุคปัจจุบัน ทั้งสภาพเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมยังเป็นตัวกระตุ้นให้คนเกิดความเครียดมาก ขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีชีวิตประจำวันที่เครียด ทำงานดึก พักผ่อนน้อย วันหนึ่งนอนไม่กี่ชั่วโมง และใช้สมองในการคิดการทำงานค่อนข้างมาก ยิ่งถ้าเป็นคนที่มีบุคลิกค่อนข้างขี้โกรธ หงุดหงิดง่าย และไม่ได้ออกกำลังกายจะเกิดโรคลำไส้แปรปรวนได้ง่ายมากขึ้น

      นอกจากนี้จากสถิติแล้วคนที่มีอาการเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ รักษาไม่หายสักที มักพบว่าต้นเหตุลำดับต้นๆ ที่ทำให้เกิดโรคของเขามาจากความเครียดด้วยกันทั้งนั้น ยิ่งรักษาไม่หายก็ยิ่งเพิ่มความกังวลกลัวว่าจะเป็นอย่างอื่นร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง ซึ่งต้องบอกไว้เลยว่าโดยธรรมชาติของโรคนี้ไม่เปลี่ยนไปเป็นมะเร็ง ดังนั้นหากพบอาการของโรคเกิดขึ้นกับตนเองแนะนำว่าควรจะมาพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจและรักษาให้เหมาะสมต่อไป

   นักบัญชี หรือทำงานด้านการเงินเสี่ยงเกิดโรคลำไส้แปรปรวน

      ในยุคภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ทำให้คนเกิดความเครียดเพิ่มมากขึ้น และคนไข้ที่มาพบแพทย์ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่ทำงานในเรื่องของการเงิน เช่น นักบัญชี ทำงานธนาคาร หรือกลุ่มที่รับผิดชอบเรื่องเงิน อาจเพราะต้องคอยแบกรับและต้องรับผิดชอบเรื่องเงิน จึงทำให้เกิดความเครียดได้ง่าย ดังนั้นในการรักษาจะทำการแนะนำคนไข้ว่าต้องมีการแบ่งเวลาในการทำงานและพัก ผ่อนให้เพียงพอ

   ทำไมถึงพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

      โรคลำไส้แปรปรวนมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในอัตราส่วนประมาณ 2:1 ซึ่งอาจเป็นเพราะว่า ผู้หญิงมีความวิตกกังวลสูงกว่าผู้ชาย เพราะว่าโรคนี้จะมีความเกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความเครียด ความวิตกกังวลอารมณ์ ผู้หญิงจะไวต่อสิ่งแวดล้อม ต่อสิ่งเร้าที่เข้ามา ผู้หญิงจะเครียดมากอาจจะเก็บอารมณ์ไว้กับตัวเอง ไม่เล่าให้ใครฟัง ก็เกิดเป็นภาวะเครียดสะสมทำให้คนกลุ่มนี้มีโอกาสเป็นโรคลำไส้แปรปรวนมากกว่า

   วิธีเอาชนะความเครียด
      สิ่งที่เข้ามาช่วยบรรเทาความเครียดอีกหนึ่งอย่างคือ การนั่งสมาธิ การรู้เท่าทันอารมณ์ เป็นเรื่องของสติ ของจิตใจ เพราะถ้าเรารู้เท่าทันอารมณ์ของเรา ความเครียดทั้งหลายก็จะเบาลง หยุดลงแค่นั้น ไม่ปล่อยให้มันดำเนินต่อ ซึ่งเป็นวิธีการที่จะช่วยลดอาการต่างๆ ลงได้ นอกจากนี้ควรออกกำลังกายจะช่วยทำให้ร่างกายได้มีการพักผ่อน ผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ตึงเครียด ส่งผลให้จิตใจผ่อนคลายตามไปด้วย

       เมื่อรู้ต้นสายปลายเหตุของการเกิดโรคลำไส้แปรปรวน และพร้อมรับมือกับโรคร้ายที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเราแล้ว รับรองว่าโรคจะหายไปโดยเร็ว และไม่กลับมาสร้างความรำคาญให้กับชีวิตอีก

หลากคำถาม โรคลำไส้แปรปรวน - โรค IBS


โรคลำไส้แปรปรวน


มาทำความรู้จักกับโรคไอบีเอส (IBS) กันเถอะ (Lisa)

          ปวด แสบแน่นท้อง ไม่สบายท้อง คลื่นไส้อาเจียน ท้องผูก หรือท้องเสียบ่อย ๆ อาจเป็นอาการของโรคไอบีเอส ซึ่งผู้หญิงมักเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย วันนี้มารู้จักโรคไอบีเอส หรือลำไส้แปรปรวนกัน

โรคกระเพาะอาหาร และลำไส้แปรปรวน เป็นอย่างไร

          ถ้าอาการเป็นเพียงที่กระเพาะอาหาร ก็เรียกกระเพาะอาหารแปรปรวน หรือบ้างก็เรียกลำไส้แปรปรวน ถ้าอาการเด่นเรื่องการขับถ่ายผิดปกติ หรืออาการทางลำไส้ ซึ่งมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Irritable Bowel Syndrome (IBS) จะขอเรียกทับศัพท์ว่า โรคไอบีเอส

          โดยโรคนี้เป็นโรคที่พบบ่อยมากทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย ถ้าสังเกตดี ๆ อาจพบคนเป็นโรคนี้อยู่รอบ ๆ ตัวเราได้ อย่างเช่น บางคนเมื่อเจอความเครียด หรือตื่นเต้นจะขึ้นเวทีร้องเพลง ปราศรัย ก็จะมีอาการปั่นป่วนท้อง บางคนทานอาหารเผ็ดเปรี้ยว หรือนมก็ปวดท้อง ต้องรีบเข้าห้องน้ำ ถ่ายเละ ๆ ครั้งสองครั้งแล้วก็หายเอง

แล้วคนที่เป็นโรคนี้จะมีอาการอย่างไร

          อาการของโรคไอบีเอส แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มอาการคือ

          1. มีอาการปวดท้อง ไม่ว่าจะเป็นแสบ แน่น อืด ลมเยอะ บีบมวน หรือผสมกัน หรือเพียงรู้สึกไม่สบายท้อง คลื่นไส้อาเจียน

          2.อาจมีการขับถ่ายผิดปกติร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นท้องผูก ท้องเสีย ต้องรีบเข้าห้องน้ำถ่าย หรือถ่ายบ่อย

          ใน ปัจจุบันยังไม่อาจพิสูจน์ได้ว่า เกิดจากอะไรแน่นอน แต่พบว่ามีสิ่งกระตุ้นได้ โดยเฉพาะความเครียด โรคนี้ตรวจแล้วไม่พบความผิดปกติ ในสมัยก่อนจึงเรียกโรคนี้ว่า เครียดลงกระเพาะอาหารและลำไส้ ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นโรคกระเพาะอาหารและลำไส้แปรปรวน เพราะสิ่งที่กระตุ้นไม่ได้มีเพียงเฉพาะความเครียด อาจเกิดจากการทานอาหารไม่เป็นเวลา ทานอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด มันจัด นม ชา กาแฟ น้ำอัดลม สุรา บุหรี่ ยาบางอย่าง หรือความเจ็บป่วยบางอย่างก็กระตุ้นให้เกิดอาการได้

          เมื่อตรวจละเอียดแล้ว ไม่เกิดความผิดปกติของโครงสร้างที่อธิบายอาการได้ แต่พบความผิดปกติของหน้าที่ อย่างเช่น บีบตัวน้อยหรือมากผิดปกติบางครั้งบางคราว หรือรับรู้ผิดปกติ เช่น แสบท้อง เหมือนมีแผล แต่ตรวจแล้วไม่มีจริง บางครั้งบางคนเรียนรู้เองโดยธรรมชาติแล้วนำมาเป็นข้อดีก็ได้ อย่างเช่น ดื่มกาแฟ หรือสูบบุหรี่ตอนเช้าก่อนเข้าห้องน้ำ แล้วทำให้ถ่ายง่ายโล่งสบายไปทั้งวัน

โรคลำไส้แปรปรวนอันตรายต่อชีวิตไหม

          ไม่ อันตรายถึงกับชีวิต และไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารและลำไส้ด้วย เว้นแต่ท้องผูกเรื้อรังนาน ๆ ที่สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งลำไส้ได้ แต่ ต้องขอย้ำว่า จำเป็นต้องผ่านการตรวจละเอียดก่อนว่า ไม่มีโรคอื่นซ่อนอยู่ที่หลอกอาการคล้าย ๆ กัน ก่อนที่จะสรุปว่าเป็นโรคนี้ ไม่ใช่ทึกทักเองว่าเป็นโรคไอบีเอส

          โรคนี้เป็นเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ ทั้งชีวิต ความรุนแรงของโรคหลากหลายมาก ส่วนใหญ่จะเป็นเล็ก ๆ น้อย ๆ ทำให้รู้สึกรำคาญได้ กลุ่มนี้มักไม่ได้ปรึกษาแพทย์ เพราะเป็นมานาน ชินกับอาการเหล่านี้ และคิดว่าเป็นปกติของตัวเราเองมากกว่า บางคนมีอาการมาก ต้องปรึกษาแพทย์ นอนโรงพยาบาลบ่อย ๆ ก็มี

มีโรคอื่นไหมที่มีอาการคล้าย ๆ กัน

          มีเยอะเลย โดยเฉพาะแผลในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้ กระเพาะอาหารหรือลำไส้อักเสบ นิ่วในถุงน้ำดี หรือท่อน้ำดี มะเร็งกระเพาะอาหารและลำไส้ ตับอักเสบ มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน โรคเหล่านี้ในช่วงแรก ๆ จะมีอาการคล้ายกับโรคไอบีเอสได้

จริงหรือที่ว่า โรคลำไส้แปรปรวนมักเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

          โดยสถิติเป็นอย่างนั้น แต่ไม่มีใครพิสูจน์ได้ว่าเพราะอะไร เชื่อว่าเพราะเป็นความละเอียดอ่อนทางความคิด หรืออารมณ์ในผู้หญิงอาจมีมากกว่าผู้ชาย ผู้ชายก็มีความเครียดเหมือนกัน แต่ไม่ค่อยหมกมุ่นวิตกกังวลมากเท่าผู้หญิง และมักมีทางระบายออกได้มากกว่า

มีวิธีรักษาโรคลำไส้แปรปรวนอย่างไร

          โดยทั่วไปมี 2 วิธีร่วมกัน คือ หนึ่งการให้ยารักษาเมื่อมีอาการ โดยการปรับยาให้เหมาะสมกับอาการครั้งนั้น ๆ ซึ่งอาการอาจมีการเปลี่ยนแปลงสลับไปมาได้ ยาใช้รักษาแต่ไม่ป้องกัน จึงจำเป็นต้องมีข้อสองร่วมด้วย คือการป้องกัน

แล้วการทานยาระบายจะช่วยได้ไหม

          ช่วยได้ แต่ควรนาน ๆ ครั้ง ถ้าทานเป็นประจำนาน ๆ ก็จะติดยาได้ ควรฝึกในเรื่องอาหาร และการขับถ่ายตามที่อธิบายเบื้องต้นตลอดชีวิต เพื่อเป็นการป้องกันระยะยาว แต่บางรายท้องผูกรุนแรงมาก จึงจำเป็นต้องใช้ยาในระยะยาวก็มี

คนไข้ส่วนใหญ่ที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวนอยู่ในวัยใด

          หลากหลายอายุ ที่พบบ่อยคือผู้หญิง ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยกลางคน

แล้วหวัดลงกระเพาะจะมีอาการอย่างไร บางครั้งดูคล้ายโรคไอบีเอสด้วยหรือไม่

          อาจมีอาการคล้ายโรคไอบีเอส แต่มีอาการของไข้หวัดร่วมด้วย โดยเฉพาะที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ไม่ควรเรียกว่าเป็นโรคไอบีเอส เพราะมีสาเหตุชัดเจน ควรจะเรียกว่า กลุ่มอาการของการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดมากกว่า เมื่อไข้หวัดหาย อาการเหล่านี้ก็จะหายไป

ข้อแนะนำจาก นพ.พงษ์สิทธิ์ วงศ์กุศลธรรม สาขาอายุรกรรมโรคทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลกรุงเทพ

          ใน คนไข้ที่มีอาการปวดท้อง หรือขับถ่ายผิดปกติ ถ้าเป็นบ่อย หรือเป็นมานานแล้ว หรือใช้ยารักษาเบื้องต้นแล้วไม่ดีขึ้น ควรจะตรวจหาให้ละเอียดว่าเป็นโรคอะไรกันแน่ เพราะบางครั้งอาจเกิดจาก โรคร้ายที่ซ่อนอยู่ก็ได้ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ หรือมีญาติพี่น้องเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร ลำไส้ หรือตับ เพราะโรคเหล่านี้อาการเบื้องต้นอาจคล้ายกับโรคไอบีเอสได้ หรือมีอาการที่ชวนสงสัยว่า เป็นโรคร้าย อย่างเช่น เบื่ออาหาร ผอมลง ถ่ายหรืออาเจียนมีเลือดปน ถ่ายมีมูก ถ่ายผูกสลับเสีย

          คนเรามักเหมาคิดไปเองว่า เครียดลงกระเพาะลำไส้ เมื่อทิ้งไว้นานเกินไปแล้วมาตรวจภายหลัง ก็อาจเจอโรคมะเร็งซ่อนอยู่ในระยะสุดท้าย ซึ่งยากต่อการรักษาและเปลี่ยนอนาคตได้

วิธีป้องกันโรคลำไส้แปรปรวน

          พยายาม หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นดังกล่าวข้างต้น และพบว่าสิ่งกระตุ้นไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกคน ต้องสังเกตตัวเองก่อนว่า มีอะไรบ้างที่กระตุ้นให้เกิดอาการ แล้วพยายามเลี่ยงสิ้งนั้น ที่ยากสุดคือความเครียด ซึ่งมีทั้งรู้ตัวและซ่อนเร้น และบางครั้งมาเร็วจนปรับตัวไม่ทัน เกิดอาการเสียก่อน แต่ก็ไม่ต้องกลัวนะครับ เพราะทานยาก็ทำให้อาการทุเลาลงได้ และมีการปฏิบัติตัวเสริม เพิ่มเติมในผู้ป่วยที่ท้องผูก 5 ข้อ

          1.ทานผักและผลไม้ให้มากในแต่ละวัน โดยควรแบ่งทานน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ ตลอดทั้งวัน ไม่ควรทานมากในครั้งเดียว เพราะอาจทำให้แน่นท้องได้

          2.ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน เพื่อให้อุจจาระนุ่ม

          3.ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้ลำไส้เคลื่อนไหว

          4.ขับถ่ายให้เป็นเวลา ลำไส้คล้ายสุนัข ฝึกได้ ควรตั้งเวลาเพื่อการถ่าย อย่างเช่น 7 โมงเช้าต้องเข้าห้องน้ำ ในช่วงแรกอาจไม่รู้สึกปวดถ่าย แต่เมื่อทำเป็นประจำจะมีความรู้สึกปวดถ่ายมากขึ้น และถ้าระหว่างวันปวดถ่ายอีก ก็ควรเข้าห้องน้ำอีก ไม่ควรกลั้นไว้นาน

          5.นั่งถ่ายให้นานพอ เพื่อไม่ให้มีอุจจาระตกค้างอยู่ในลำไส้ เพราะหากตกค้างนาน ๆ จะทำให้อุจจาระแข็งขึ้นได้ นอกจากนี้ เมื่ออุจจาระสะสมนานวันเข้าก็จะท้องอืด แน่นท้อง ท้องป่องได้

โรคลำไส้แปรปรวน กับทางเลือกในการรักษา

 
ลำไส้แปรปรวนกับทางเลือกในการรักษา (Health Plus)

          โรคลำ ไส้แปรปรวน เป็นหนึ่งในโรคที่มีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน ซึ่งการรักษามีหลายวิธี และวิธีหนึ่งที่เริ่มนำเข้ามาใช้รักษาผู้ป่วย คือ การสะกดจิต เหตุใดจึงนำการสะกดจิตมาใช้ในการรักษาโรคลำไส้แปรปรวน (imitable bowel syndrome-IBS) เรามาหาคำตอบในเรื่องนี้กัน

          โรค IBS เป็นความผิดปกติในการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ประมาณกันว่า 1 ใน 3 ของประชากรอังกฤษป่วยด้วยโรคนี้ อาการของโรคนี้สร้างความรำคาญและทุกข์ทรมานให้กับชีวิต ผู้ป่วยประมาณกว่า 10% ของประชากรมีอาการรุนแรงจนต้องไปหาหมอ

          แม้จะยังไม่มีวิธีรักษาโรคนี้ให้หายขาด แต่ก็มีทางรักษาที่หลากหลายซึ่งจะช่วยควบคุมอาการไม่ให้กำเริบ ว่าแต่เราจะทราบได้อย่างไรว่าวิธีใดได้ผล

          "ยังไม่มีวิธีใดที่วิเศษจนสามารถรักษาผู้ป่วยโรคนี้ให้หายได้" แมรี ฮาสลาม ผู้จัดการพยาบาลของศูนย์ให้ความช่วยเหลือ the IBS Network Help-Line กล่าว แต่มีการรักษาอยู่วิธีหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีประสิทธิภาพนั่นคือ การรักษาด้วยการสะกดจิตบำบัดโรคลำไส้แปรปรวน (gut-directed hypnotherapy) อาจฟังดูค่อนข้างน่ากลัว แต่ที่จริงหาเป็นเช่นนั้นไม่

          อลิซาเบธ เทย์เลอร์ นักสะกดจิตบำบัดแห่งแผนกการแพทย์องค์รวม โรงพยาบาลรอสเซนเดลอธิบายว่า "คน ป่วยจะถูกสะกดจิต และนักสะกดจิตจะให้คำแนะนำให้ด้านบวก เป้าหมายเพื่อให้ลำไส้ทำงานเป็นปกติ บรรเทาอาการปวดและท้องอืด การสะกดจิตบำบัดโรคลำไส้แปรปรวนเป็นเพียงการให้คำแนะนำโดยตรง คุณต้องนั่งนิ่ง ๆ ขณะถูกสะกดจิต หรือปลดปล่อยความรู้สึกเจ็บปวด ผู้สะกดจิตจะให้ผู้ป่วยวางมือบริเวณหน้าท้อง และจะรู้สึกร้อนที่หน้าท้อง ผู้ป่วยจะได้รับเทปบันทึกเทคนิคการบำบัด เพื่อให้นำกลับไปฝึกปฏิบัติเองที่บ้านทุกวัน"
          วิธี นี้ให้ผลดีหากผู้ป่วย IBS มีอาการหลัก 3 อย่างได้แก่ ปวดท้อง ท้องอืด และอาการผิดปกติของลำไส้ที่ทำให้เกิดอาการท้องผูกหรือท้องเสีย คุณต้องเปิดใจรับการรักษาดังกล่าว และมุ่งมั่นที่จะเอาชนะอาการป่วย "ตามปกติต้องบำบัดทั้งหมด 12 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง" เทย์เลอร์กล่าว "มันไม่ใช่การรักษาโรค แต่เป็นเทคนิคที่ดีในการควบคุมอาการ"

          ผลการวิจัยชี้ว่าการสะกดจิตได้ผลดี นักวิจัยจากแมนเชสเตอร์ พบว่า การบำบัดช่วยให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นนานถึง 5 ปี หลังจากคอร์สบำบัดเสร็จสิ้น

          ด้าน ดร.มาร์ค คอตทริลล์ แพทย์ทั่วไปจากแลงคาเชียร์และผู้ดูแล IBS Network เป็นผู้หนึ่งที่ใช้วิธีสะกดจิตบำบัดโรคลำไส้แปรปรวนในการผ่าตัด กล่าวว่า "เรา พบว่าการะสะกดจิตเป็นการรักษาที่ได้ผลดีมาก ดีกว่าการทานยาเป็นอย่างมาก มันไม่เหมือนการสะกดจิตแบบดั้งเดิม แต่เป็นลักษณะของการทำให้จิตใจของผู้ป่วยผ่อนคลายและสบายกายอย่างแท้จริง นับเป็นเทคนิคช่วยบำบัดตนเองให้ดีขึ้นอย่างได้ผล"
          ขณะเดียวกัน เมื่อเร็ว ๆ นี้ the IBS Network ได้สอนให้ผู้ป่วยรู้จักวิธีการสะกดจิตบำบัดโรคลำไส้แปรปรวนด้วยตนเองทั้งหมด 21 หลักสูตรทั่วประเทศอังกฤษ แต่โชคไม่ดีที่โครงการนี้ซึ่งได้เงินสนับสนุนก้อนแรก จากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลแห่งชาติ (National Lottery) ต้องยกเลิกไป แต่ทาง the IBS Network ยังหวังว่าจะมีกองทุนใหม่ๆ เข้ามาสนับสนุนหลักสูตรดังกล่าวนี้อีกครั้ง

          ทั้ง นี้ สาเหตุของโรค IBS ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ความเครียด การไดเอต โรคลำไส้อักเสบรุนแรง และการตัดมดลูกทิ้งล้วนมีส่วนทำให้เกิดอาการดังกล่าวได้ทั้งสิ้น "อาการเหล่านี้ส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอลง โดยเฉพาะคนสูงอายุ บางครั้งถึงขั้นส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในสังคม เพราะพวกเขากลัวว่าตัวเองจะสูญเสียการควบคุมในที่สาธารณะ" แมรี่กล่าว

          "คนอายุมากกว่า 50 ปีที่ลำไส้ทำงานผิดปกติอย่างฉับพลัน รวมถึงน้ำหนักตัวลดและ/หรืออุจจาระมีเลือดควรไปพบแพทย์ ที่สำคัญอย่าพยายาม สันนิษฐานเอาเองว่าเป็นโรค IBS เพราะอาจเป็นโรคร้ายแรงอย่างอื่นที่คาดไม่ถึง โดยแพทย์จะตรวจหาต้นเหตุที่แท้จริงโดยการส่องกล้อง หรือการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เพื่อแยกแยะอาการ เช่น มะเร็งลำไส้ ติ่งเนื้อ หรือโรคถุงที่ผนังลำไส้ใหญ่ (diverticulosis)"

7 ทางเลือกในการรักษาที่คุ้มค่าน่าลอง
1.ยาแผนปัจจุบัน
           ยาแก้ปวดเกร็ง เช่น Colofac (ต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่าย) ทานร่วมกับอาหารเสริมจำพวกไฟเบอร์ ช่วยการทำงานของลำไส้ใหญ่

           ยาแก้ท้องเสีย เช่น โคดีอีน (Codeine) หรือโลเพอราไมด์ (Loperamide) ช่วยให้อาการเดินทางผ่านลำไส้ช้าลง

           ยาระบาย เช่น มะขามแขก ช่วยกระตุ้นเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อผนังลำไส้ ใช้รักษาโรคท้องผูก

2.เปลี่ยนแปลงอาหารการกิน

          การจดบันทึกอาหารที่กินในแต่ละวันช่วยให้เราสามารถจำแนกว่าอาหารชนิดใดมี ปัญหา ซึ่งอาจเป็นตัวเหตุของอาการผิดปกติ โดยมากอาหารที่ก่อให้เกิดปัญหาได้แก่ ข้าวสาลี น้ำตาล ยีสต์ และน้ำตาลเทียม ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว หรือมะเขือเทศ อย่าพยายามจำกัดอาการที่กินโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ เพราะอาจเป็นอันตรายได้ เพราะคนวัยนี้ต้องกินอาหารที่มีแคลอรีน้อยอยู่แล้ว ทำให้เสี่ยงต่อการขาดสารอาหารมากยิ่งขึ้น

3.โปรไบโอติก

          อาหารเสริมโปรไบโอติกช่วยสร้างสมดุลระหว่างแบคทีเรียที่ "ดี" และ "ไม่ดี" ในลำไส้ ลดแก๊สในท้อง และบรรเทาอาการปวด แก้ท้องเสีย และเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค หาซื้ออาหารเสริมที่มีส่วนผสมของ Bifobacterium และ Lactobacillus ผลการวิจัยยังชี้ว่าเครื่องดื่มโปรไบโอติกอย่างยาคูลท์ช่วยได้

4.ออกกำลังกาย

          การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยให้การทำงานของลำไส้ดีขึ้นและบรรเทาอาการท้องผูก

5.เทคนิคช่วยผ่อนคลาย
          โยคะและการนั่งสมาธิช่วยลดความเครียด ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดอาการของโรค

6.นวดกดจุดฝ่าเท้า

          ผู้เชี่ยวชาญด้านการนวดกดจุดฝ่าเท้าเชื่อว่า อารมณ์ฉุนเฉียว ความวิตกกังวล และความเครียดส่งผลต่อการทำงานของลำไส้ การนวดกดจุดฝ่าเท้าช่วยผ่อนคลายเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้การเผาผลาญอาหารในระบบย่อยอาหารเกิดความสมดุล

7.โฮมีโอพาธีย์ (Homeopathy)

          เป็นวิธีการรักษาแบบธรรมชาติบำบัดโดยใช้สารที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยมากระตุ้นให้ระบบเซลล์ในร่างกายทำงานด้วยตัวของมันเอง

           Arsenicum album ช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย

           Carbo veg ช่วยแก้ท้องอืด มีแก๊สในท้อง

           Podophylium แก้ท้องเสีย ปวดท้อง และท้องอืดท้องเฟ้อ

           Veratum album แก้ท้องเสีย ถ่ายอุจจาระเหลว และอาการอ่อนเพลีย

          สำหรับในประเทศไทยสามารถขอรับค่าปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทาง สาธารณสุข รวมถึงเภสัชกรหรือขอรับคำปรึกษาได้จากสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน (โอสถศาลา) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โรคลำไส้แปรปรวนคืออะไร

          โรคลำไส้แปรปรวนคือกลุ่มของอาการที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของลำไส้ ต่อไปนี้คือสัญญาณของอาการลำไส้แปรปรวน

           ปวดท้องและปวดเกร็งลำไส้
          ท้องเสีย
           ท้องผูก
           ท้องเสียสลับท้องผูก
           ท้องอืด
           ท้องไส้ปั่นป่วน
           มีแก๊ส เรอ และอาเจียน

          "ยังมีอาการอื่นๆ ที่พบได้บ่อยในส่วนอื่นของร่างกาย" แมรี่ ฮาสลาม ผู้จัดการพยาบาลของศูนย์ให้ความช่วยเหลือ the IBS Network Help-Line กล่าว "อาการดังกล่าวได้แก่ ปวดศีรษะ มึนงง ปวดหลัง อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ ปัสสาวะบ่อย"