7.10.12

กาแฟ มีประโยชน์??

กาแฟ มีประโยชน์?? 

 

 

ที่ผ่านมา เชื่อกันว่ากาแฟมีผลต่อโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง กระดูกพรุน ทำให้เป็นหมัน ทำให้หญิงตั้งครรภ์แท้ง หรือทารกน้ำหนักน้อย เป็นต้น แต่การวิจัยในระยะหลังระบุว่า "การดื่มกาแฟ" เพียงวันละ 1 - 2 ถ้วย ไม่น่าจะมีปัญหา และอาจให้ผลดี หากดื่มให้เป็น แต่ถ้ามากเกินไปก็ไม่ดี

*กาแฟกับโรคหัวใจ
ผล การศึกษากับคน มากกว่า 400,000 คน ไม่พบว่าการดื่มกาแฟทั้งชนิดที่มีกาเฟอีน และชนิดสกัดกาเฟอีนออก เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาอีกชิ้นหนึ่งที่ติดตามดู กลุ่มผู้หญิง 27,000 คน เป็นระยะเวลา 15 ปี พบว่า การดื่มกาแฟปริมาณน้อย ๆ ประมาณวันละ 1 - 3 ถ้วย ลดความเสี่ยงโรคหัวใจให้น้อยลง 26% อย่างไรก็ตาม หากดื่มกาแฟปริมาณมากกว่านี้ จะไม่ได้ผลดีในการลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

*กาแฟกับความดันโลหิต
เว็บไซต์ มูลนิธิโรคหัวใจ และสโตรคแคนาดา ระบุว่า คนที่ไม่ได้ดื่มกาแฟเป็นประจำ มีแนวโน้มว่าคาเฟอีนจะทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นชั่วคราว ส่วนคนที่ดื่มในปริมาณมากเป็นประจำ เช่น กาแฟวันละ 5 ถ้วย มีส่วนทำให้ความดันโลหิตตัวบนเพิ่มขึ้น 2.4 มิลลิเมตรปรอท และความดันโลหิตตัวล่างเพิ่มขึ้น 1.2 มิลลิเมตรปรอท แต่ถ้าดื่มเป็นประจำในปริมาณน้อย ๆ ผลกระทบยังไม่แน่นอน มีการศึกษาที่ติดตามกลุ่มพยาบาล 155,000 คน ที่ดื่มกาแฟมานาน 10 ปี พบว่าทั้ง กาแฟชนิดที่มีกาเฟอีน และชนิดที่สกัดกาเฟอีนออก ไม่ทำให้ความดันเลือดเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ คณะวิจัยจาก John Hopkins ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 1,000 คน ติดตามไป 33 ปี ก็พบเช่นกันว่า กาเฟอีนมีผลต่อความดันเลือดน้อยมาก ในทางกลับกัน การศึกษาจาก VA Medical Center ใน Oklahoma City สหรัฐอเมริกา พบว่า คนที่มีความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว ยิ่งดื่มกาแฟ ก็จะยิ่งทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น

การศึกษาทำกับผู้ชาย ที่มีระดับความดันโลหิตต่าง ๆ กัน ตั้งแต่ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือสูงเล็กน้อย ไปจนถึงผู้ที่มีความดันโลหิตสูง จำนวนผู้เข้าศึกษาไม่มากนัก ประมาณกลุ่มละ 18-73 คน

ผลการศึกษาพบว่า กาเฟอีน 250 มิลลิกรัม ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นทั้งตัวบนและตัวล่าง ในทุกกลุ่ม แต่จะสูงขึ้นอย่างมากในผู้ป่วย ที่มีความดันโลหิตสูงอยู่ก่อนแล้ว มากกว่า 1.5 เท่าของกลุ่มที่ความดันปกติ

มีคำแนะนำให้ผู้ที่ความดัน โลหิตสูงหลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม ที่มีกาเฟอีนในปริมาณสูง สำหรับผู้ที่ความดันเป็นปกติ ยังไม่พบผลเสียร้ายแรงจากการดื่มกาแฟ

*กาแฟกับมะเร็ง
เมื่อ ปี 2524 คณะนักวิจัยจาก John Hopkins ระบุว่า กาแฟเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งตับอ่อน อย่างไรก็ตาม การศึกษาต่อมาพบว่า กาแฟไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งตับอ่อน คือ บุหรี่

การ ศึกษากับผู้หญิงสวีเดน 59,000 คน ยังพบว่ากาเฟอีนไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านม และยังมีรายงานด้วยว่า การดื่มกาแฟอาจจะมีผลป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้ยังมีรายงานจาก World Cancer Research Fund ว่าการดื่มกาแฟปริมาณปานกลางไม่มีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็ง

*กาแฟกับกระดูกพรุน
จาก การศึกษาพบว่า กาแฟทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลงเล็กน้อย ประมาณ 27 มิลลิกรัม เทียบเท่ากับนม 1 - 2 ช้อนโต๊ะ และไม่ทำให้ร่างกายสูญเสียแคลเซียมทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น ปริมาณแคลเซียมเท่านี้ ไม่น่าจะทำให้คนที่กินแคลเซียมมากพอเป็นโรคกระดูกพรุน หากกังวลก็สามารถเติมนมไขมันต่ำ หรือไม่มีไขมันลงไปในกาแฟเพื่อชดเชย หรือดื่มนมเพิ่มสำหรับ ผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 2 ถ้วยขึ้นไป

*กาแฟกับเบาหวาน
จาก การศึกษาพบว่า การดื่มกาแฟจะทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินเพิ่ม ขึ้น 15% กรดไขมันในเลือดเพิ่มขึ้น ฮอร์โมนอะดรีนาลีนเพิ่มขึ้น ทำให้หัวใจเต้นเร็วและความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อผู้ป่วย ที่เป็นเบาหวานอยู่แล้ว

แต่ก็มีการวิจัยจากฟินแลนด์ และมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่พบว่า คนที่ดื่มกาแฟมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2 น้อยกว่าคนที่ไม่ดื่มกาแฟ

*กาแฟกับการตั้งครรภ์และการเป็นหมัน
ก่อน หน้านี้ มีความเชื่อว่าการดื่มกาแฟจะเป็นผลเสียต่อการตั้งครรภ์ แต่จากหลักฐาน ยังไม่พบผลเสียดังกล่าว นักวิจัยแนะนำว่า การดื่มกาแฟปริมาณน้อย ๆ ขณะตั้งครรภ์ไม่เกิดผลเสีย แต่หากงดได้ก็น่าจะงด ส่วนการเป็นหมันนั้น พบว่าหากดื่มกาแฟมากกว่าวันละ 1 แก้วจะมีโอกาสเกิดการเป็นหมันมากขึ้น

*กาแฟกับการขาดน้ำ
จาก การศึกษาพบว่า การดื่มกาแฟไม่เกิน 550 มิลลิกรัม หรือประมาณ 5 ถ้วยครึ่ง ไม่ออกฤทธิ์ขับปัสสาวะ การดื่มกาแฟทำให้ปัสสาวะมากขึ้น เทียบเท่ากับการดื่มน้ำในปริมาณเท่า ๆ กัน อย่างไรก็ตาม กาเฟอีนจะมีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะ หากดื่มเกินครั้งละ 575 มิลลิกรัม หรือประมาณ 6 ถ้วย ดังนั้นขณะออกกำลังกาย หรือหลังออกกำลังกายไม่ควรดื่มกาแฟในปริมาณมาก เพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำได้

*กาแฟกับน้ำหนักตัว
คา เฟอีน 100 มิลลิกรัมเพิ่มการเผาผลาญพลังงานได้ ประมาณวันละ 75 - 100 กิโลแคลอรี แต่ไม่มีการศึกษาใดที่พบว่า กาแฟช่วยให้ลดน้ำหนักได้ในระยะยาว

ยิ่ง ไปกว่านั้น การศึกษาจากชาวอเมริกัน 58,000 คน ติดตามไป 12 ปี พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งผู้หญิง และผู้ชายที่ดื่มกาแฟมากขึ้น กลับมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น สาเหตุอาจมาจากน้ำตาล นม และครีมเทียมที่ใส่ลงไปในกาแฟ

*กาแฟกับสมรรถภาพของร่างกาย
คา เฟอีนเพิ่มความสามารถในการออกแรง ออกกำลัง หรือเล่นกีฬา โดยเพิ่มความอดทนหรือความสามารถในการออกแรงได้นานขึ้น กลไกที่คาเฟอีนทำให้สมรรถภาพของร่างกายดีขึ้น น่าจะมาจาก การออกฤทธิ์ทำให้อาการปวดลดลง เช่น ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเอ็น กลไกอีกอย่างหนึ่งของคาเฟอีน คือ การทำให้ร่างกายเปลี่ยนระบบเผาผลาญ โดยลดการเผาผลาญแป้งและน้ำตาล และเพิ่มการเผาผลาญไขมัน ทำให้เราออกแรง ออกกำลังได้มากขึ้น

*กาแฟกับอารมณ์
การ ศึกษาพบว่า กาแฟปริมาณน้อย ๆ ไม่เกิน 200 มิลลิกรัม เทียบเท่ากาแฟสด 480 มิลลิลิตร หรือเกือบครึ่งลิตร ทำให้สดชื่น มีพลัง และรู้สึกอยากเข้าสังคมมากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากดื่มกาแฟมากกว่านี้ อาจทำให้เครียดง่าย และทำให้ปวดท้องหรือไม่สบายท้องได้

การศึกษาในคน ที่อดนอนพบว่า กาแฟจะกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ไม่ง่วง ช่วยให้ร่างกายตื่นตัวมากขึ้น ตอบสนองต่อสิ่งเร้าเร็วขึ้น ความจำดีขึ้น สมาธิดีขึ้น และยังทำให้ความสามารถในการทำงานดีขึ้น แต่ไม่ช่วยเพิ่มความสามารถในคนที่นอนมากพออยู่แล้ว

กาแฟยังช่วย บรรเทาอาการปวดศีรษะ ลดอาการปวดเมื่อย เนื่องจากไข้หวัด ลดอาการซึมเศร้า และคลายความวิตกกังวล และช่วยให้ผู้สูงอายุกระฉับกระเฉงกระชุ่มกระชวยกว่าคนในวัยเดียวกัน ที่ไม่ได้ดื่มกาแฟ

กาแฟกับโรคอื่น ๆ
การ ศึกษาพบว่า กาแฟชนิดที่มีกาเฟอีนลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคพาร์คินสันได้ ประมาณ 30% แต่กาแฟชนิดสกัดกาเฟอีนออก จะไม่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคนี้

การดื่มกาแฟเป็นประจำ ยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี และนิ่วในทางเดินปัสสาวะ

นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าการดื่มกาแฟวันละ 3 แก้ว จะช่วยบรรเทาอาการหอบหืด

อย่าง ไรก็ตาม นักวิจัยเตือนว่า การศึกษาเหล่านี้ยังเป็นการศึกษาแรกเริ่ม จำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนหรือคัดค้านต่อไป คอกาแฟอาจจะดื่มกาแฟได้อย่างคล่องคอมากขึ้น แต่ก็อย่าโหมดื่มกาแฟ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรค ควรปรึกษาแพทย์ให้แน่ใจก่อนดื่ม

0 comments:

Post a Comment