28.4.12

โรคเชื้อราที่เท้า

คุณคงเคยได้ยินชื่อ โรคฮ่องกงฟุต กันมาบ้างแล้ว ...โรคใกล้ตัวที่คุณก็มีโอกาสเป็นได้





คืออาการคันที่เกิดจากเชื้อราที่เท้า ซึ่งคอยก่อกวนบรรดานักกีฬาที่นิยมออกกำลังจนเหงื่อออก เท้าอับชื้น เสมอๆ ไม่เพียงแต่เหล่านักกีฬาที่มักเป็นโรคนี้ แต่คุณเองที่บางทีอาจแค่นั่งๆ นอนๆ ดูโทรทัศน์อยู่กับบ้านก็มีโอกาสเป็นเชื้อราที่เท้าได้เหมือนกัน ใครที่เป็นถ้าไม่รีบรักษา ปล่อยไว้อาจลุกลามจนกลายเป็นโรคเรื้อรัง

เรื่องน่ารู้ของโรคฮ่องกงฟุต
1. เมื่ออากาศร้อนๆ และเท้าชื้นมากๆ ประกอบกับมีเหงื่อออกด้วย จึงเป็นบ่อเกิดของเชื้อราที่เรียกว่า Dermatophytes เนื่องจากเชื้อราจะเจริญและแพร่พันธุ์ได้ดีมากในอากาศร้อนชื้น

2. Tinea คือ ชื่อสามัญของการติดเชื้อที่ผิวหนัง Tinea pedis (pedis หมายถึง เท้า ในภาษาลาติน) คือโรคเชื้อราที่เท้า Jock itch หรือ tinea cruris (cruris หมายถึง ขา) คือการติดเชื้อที่ผิวหนังบริเวณขาหนีบ ต้นขา ข้อพับต้นขา มีอีกชื่อหนึ่งว่า สังคัง Ringworm หรืออีกชื่อหนึ่งว่า tinea capitis (capitis หมายถึง ศีรษะ) คือ กลากที่ศีรษะ

3. การติดเชื้อส่วนใหญ่มักมาจากการใช้ของร่วมกับผู้อื่น เช่น ใช้ผ้าเช็ดตัว ใส่รองเท้าร่วมกับผู้อื่น หรือว่ายน้ำในสระสาธารณะ ซึ่งสิ่งของและที่เหล่านี้เป็นที่ที่เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี

4. อาการของโรคเชื้อราที่เท้า
. คันตามซอกนิ้วเท้า และผิวลอกออกเป็นขุยๆ
. เป็นผื่นที่เท้า
. ผิวหนังที่เท้าเกิดพุพอง
. นิ้วเท้าหนาและแตก
ที่เป็นมากและพบบ่อยจะเกิดตรงซอกนิ้ว แต่ก็สามารถเกิดที่ส้นเท้า และ อาจลุกลามไปถึงฝ่าเท้าและเล็บเท้าได้

5. การรักษาโรคเชื้อราที่เท้า
ล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่ และเช็ดหรือเป่าให้แห้ง
ใส่ถุงเท้าและรองเท้าที่สะอาด และไม่เปียกชื้น
ใช้ครีมกันเชื้อรา หรือโรยแป้งฝุ่นที่เท้า
เท้า ต้องสะอาดและแห้งเสมอ ใช้แป้งหรือครีมกันเชื้อรา ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นหรือกำเริบ ควรพบแพทย์เพื่อที่ได้สั่งยาต้านเชื้อราได้ถูกต้อง และวินิจฉัยสาเหตุอื่นของอาการเหล่านั้น

6. ป้องกันได้อย่างไร
. ใส่ถุงเท้าและรองเท้าที่แห้ง
. เช็ดหรือเป่าเท้าให้แห้งโดยเฉพาะซอกเท้าหลังจากอาบน้ำ
. ใส่ถุงเท้าที่ทำด้วยขนสัตว์ดีกว่าผ้าฝ้ายเพราะผ้าขนสัตว์ช่วยซับความชื้นจากเท้า
. ถ้าเท้าเปียกโชก ควรเปลี่ยนรองเท้า
. ควรมีรองเท้า 2 คู่ ใส่สลับกัน ไม่ควรใส่รองเท้าคู่เดิมทุกวัน
แม้ ว่าจะใส่รองเท้าแตะในที่อาบน้ำหรือสระน้ำสาธารณะเพื่อป้องกันการติดเชื้อรา แล้วก็ตาม แต่วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการทำให้เท้าแห้ง

7. โรคแทรกซ้อน หรือที่เรียกว่า cellylitis คือการที่ผิวหนังอักเสบ เกิดในรายที่รุนแรง และสามารถรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
เท้าสำคัญกว่าที่คุณคิด

ความสำคัญกับเท้ามากนัก ทั้งที่จริงแล้วเท้ามีหน้าที่สำคัญหลายประการ เช่น เวลาที่คุณยืน เท้าต้องทำหน้าที่รองรับน้ำหนักตัว สร้างความสมดุลย์ทั้งในขณะยืน เดิน และวิ่ง เป็นต้น เท้ายังมีหน้าที่อื่น ๆ อีกมากมาย แต่เพียงแค่นี้คุณก็คงพอจะเห็นแล้ว ว่าเท้าของคุณสำคัญกว่าที่คุณคิด และเมื่อเกิดความผิดปกติกับเท้าคุณ อาจบั่นทอนความสะดวกในการดำเนินกิจกรรมประจำวันของคุณ

ตัวอย่างง่าย ๆ คุณรักษาความสะอาด ผิวหนังที่ฝ่าเท้า และง่ามเท้าของคุณดีหรือยัง?? ถ้าหมักหมมไว้ไม่ดูแล เชื้อราจะก่อโรคขึ้นง่าย ๆ

โรคฮ่องกงฟุตหนึ่งในโรคเชื้อราที่พบได้บ่อย

โรคฮ่องกงฟุตเป็นโรคเชื้อราที่เท้า เกิดจากเชื้อกลากเดอร์มาโตไฟต์ เริ่มต้นโรคจะมีอาการคันที่ผิวหนังของง่ามนิ้วเท้า หรือฝ่าเท้าที่ง่ามนิ้วเท้าระหว่างนิ้วก้อยกับนิ้วนาง จะพบผิวหนังมีลักษณะเปื่อยยุ่ย และปริออกจากกัน และมีการกระจายตัวไปยังบริเวณผิวหนังใต้นิ้วเท้าที่เป็นโรค

ในบางราย อาจพบตุ่มน้ำพองใสเป็นปื้น ที่ผิวหนังบริเวณฝ่าเท้า ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นแผ่นสะเก็ดแห้ง ๆ และหนาตัวขึ้น ในระยะเรื้อรัง คนที่เป็นโรคฮ่องกงฟุต อาจพบโรคเชื้อราที่เล็บเท้าร่วมด้วยก็ได้

คุณจะป้องกันการติดโรคฮ่องกงฟุตได้อย่างไร

  • แหล่ง รวมเชื้อ ได้แก่ ห้องอาบน้ำรวม เช่น ของนักกีฬา หรือโรงทหาร ซึ่งเชื้อราจากผู้ที่เป็นโรคนี้จะหลุดออกมาอยู่ที่พื้นห้องน้ำ และติดต่อไปยังเท้าผู้อื่นได้ ห้องอาบน้ำรวมจึงควรใช้ยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดพื้นห้องน้ำอย่างสม่ำเสมอ
  • ดูแลเท้า โดยเฉพาะง่ามนิ้วเท้าให้แห้งสะอาด
  • ควรเปลี่ยนถุงเท้าทุกวัน และดูแลพื้นภายในรองเท้า ให้แห้งอยู่เสมอ เช่น นำไปตากแดด หรือผึ่งลม และควรมีรองเท้าสับเปลี่ยนกัน
  • หากจำเป็นต้องลุยน้ำ หลังจากนั้น ก็ให้ล้างเท้าด้วยสบู่ให้สะอาด เช็ดเท้าให้แห้ง และเช็ดผิวหนังด้วยแอลกอฮอล์อีกครั้งหนึ่ง

เมื่อพบความผิดปกติที่เท้าควรทำอย่างไร

โรค ผิวหนังที่เท้ามีอยู่หลายโรคด้วยกัน และเกิดได้จากหลายสาเหตุ เมื่อท่านพบ อาการผิดปกติเกิดขึ้นที่เท้า จึงควรให้แพทย์วินิจฉัยเสียก่อนว่า เป็นโรคอะไรกันแน่ หากเป็นโรคเชื้อราก็วินิจฉัยได้จากการตรวจเพาะเชื้อ

การรักษาโรคฮ่องกงฟุต
  1. ใช้ยาทาซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น ครีม ขี้ผึ้ง ยาน้ำ ผงซึ่งมีสารฆ่าเชื้อราผสมอยู่ด้วย
  2. ยารับประทาน มีทั้งชนิดกดความเจริญของเชื้อ หรือฆ่าเชื้อโดยตรงซึ่งแพทย์เป็นผู้รักษา และจ่ายยา

บุคคลที่มีโอกาสติดโรคเชื้อราได้ง่าย

  • นักกีฬา และทหาร เนื่องจากเท้าอับชื้นจากการใส่ถุงเท้า และรองเท้าอยู่ตลอดเวลา ทำให้เท้าเปียกชื้น และอับชื้น ซึ่งเหมาะแก่การก่อโรค และเจริญเติบโตของเชื้อราที่เป็นต้นเหตุ
  • คนไข้โรคเบาหวาน
  • กลุ่มคนไข้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือคนที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน

ข้อควรระวัง
ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง นอกจากแพทย์ หรือเภสัชกรเป็นผู้ให้การรักษา ถ้ามีปัญหาเรื่องโรคเชื้อรา ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังหรือเภสัชกร

0 comments:

Post a Comment