17.7.12

การฝึกกล้ามเนื้อตาด้วยตนเอง

การบริหารกล้ามเนื้อดวงตา

และในวันนี้เรานั้นจะแนะนำการบริหารกล้ามเนื้อของ “ดวงตา” เพื่อให้เพื่อนนั้นสามารถเรียนรู้ที่นี้อีกด้วย เพราะดวงตาเป็นประตูทุกๆอย่างนั้นเอง เพราะถ้าดวงตานั้นมีการใช้งานที่มากๆจนเกิน มันอาจจะสามารถทำร้ายดวงตาของเรานั้นทางอ้อมนั้นเอง และมันก็จะกลายเป็นตาบอดโดยที่สุด เพราะดังนั้นเรานั้นควรมาทำการ “ดูแลรักษา” กันดีกว่า และการบริหารดวงตา หรือการออกกำลังกล้ามเนื้อตา นั้นจำเป็นสำหรับบุคคลต่อไปนี้เท่านั้น
1. บุคคลที่ไม่สามารถโฟกัสภาพเมื่ออ่านหนังสือได้
2. บุคคลที่มองเห็นภาพซ้อน (ในบางกรณีเท่านั้น)
3. บุคคลที่มีดวงตาเข ไม่ว่าจะเขออกนอกหรือเข้าในนั้นเอง
4. บุคคลที่หลังรับการผ่าตัดดวงตา แพทย์จะใช้เพื่อช่วยคงการมองเห็นหรือช่วยให้ดวงตาตรง ไม่เขออก
5. บุคคลที่มีภาวะตาขี้เกียจ
และการบริหารกล้ามเนื้อดวง “ตา” นั้นได้มีหลายวิธี เพราะโดยสรุปมักจะประกอบด้วยการบริหารกล้ามเนื้อเล็กๆ ที่อยู่รอบดวงตา และจะทำหน้าที่กลอกดวงตาไปมาโดยการบริหารจะช่วย ให้ฝึกให้การเคลื่อนไหวของดวงตา และยังการรับภาพที่สมองเป็นไปอย่างสัมพันธ์กัน ตัวอย่างการบริหาร อย่างเช่น
- เรานั้นใช้มือปิดตาข้างหนึ่ง และใช้ตาที่เหลือจ้องมองที่วัตถุที่ต่างๆ ใกล้ ไกล
เปลี่ยนไปเรื่อยๆ
- เรานั้นลองเปิดตาสองข้าง มือถือปลายดินสอ หรือปากกายืดออกเท่าความยาวช่วงแขน บังคับดวงตานั้นให้จ้องมองที่ปลายปากกาโดยให้เห็นเป็นจุดๆเดียว แล้วค่อยๆเคลื่อนปลายปากกาเข้าใกล้ดวงตาขึ้นอย่างช้าๆ ในขณะเดียวกัน เรานั้นลองบังคับให้ดวงตาทั้งสองข้างมองตามมาและให้เห็นเป็นจุดเดียว เพราะไม่ให้เกิดเป็นภาพซ้อนจนใกล้ดวงตามากที่สุด ทำเช่นนี้อย่างน้อย 10-20 ครั้งเป็นประจำทุกวัน เพราะเป็นการเพิ่มความแข็งแรงให้กับ “กล้ามเนื้อตา” ในการมองใกล้ และช่วยให้ดวงตาเรานั้นตรงไม่เขออกนั้นเอง
ขอบคุณข้อมูลดีดี จาก. eyebankthai.com

เมื่อท่านทราบว่า "กำลังมีอาการกล้ามเนื้อตาล้า" หรือ "กล้ามเนื้อตาอ่อนกำลัง (Convergence Insufficiency)" ท่านสามารถทำให้กล้ามเนื้อตาเข้าสู่สภาพปกติ หรือทำให้อาการปวดตา ไม่สบายตาหายไปด้วยตนเอง โดยวิธีง่าย ๆ ดังนี้

อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึก
ไฟฉายเล็ก ๆ แบบแท่งดินสอ 1 อัน หรือถ้าไม่มีอาจใช้ดินสอ หรือปากกา 1 ด้าม

ขั้นตอนในการฝึก
  1. ใช้มือข้างที่ถนัดถือไฟฉาย หรือดินสอ หรือปากกาที่มี แล้วยืดแขนออกไปให้แขนเหยียดตรง โดยให้ไฟฉาย หรือดินสออยู่ตรงกึ่งกลางของดั้งจมูกพอดี
  2. ใช้ตาทั้ง 2 ข้างเพ่ง - จ้องไปที่ดวงไฟ หรือปลายดินสอ / ปลายปากกา จะต้องเห็นดวงไป หรือปลายดินสอเป็นภาพเดียว ไม่มีภาพซ้อน ในกรณีที่เห็นเป็นภาพซ้อน ให้หลับตาทั้ง 2 ข้างลงก่อน แล้วลืมตาดูใหม่ พยายามมองให้เห็นไฟเป็น 1 ดวง
  3. ค่อย ๆ เลื่อนมือเข้ามาใกล้ตา เรื่อย ๆ ช้า ๆ โดยที่สายตายังคงจ้องอยู่ที่ดวงไฟ หรือปลายปากกา เพื่อจะได้สังเกตุเห็นความแตกต่าง ระหว่างจุดตั้งต้นกับระยะที่ไฟเลื่อนเข้ามา
  4. ค่อย ๆ เลื่อนมือเข้า จนกระทั่งเมื่อใดที่เห็นดวงไฟ หรือปลายปากกาแยกเป็น 2 จุด หรือเริ่มมัวมองไม่ชัด เช่น จุดเริ่มต้นให้ถอยมือกลับไปตั้งต้นใหม่ ให้เห็นชัดที่ระยะสุดแขนเช่นเดิม
  5. ฝึกซ้ำข้อ 1 - 4 ประมาณ 20 ครั้ง แล้วจึงหยุดฝึก

วิธีฝึกให้ได้ผล
  1. ฝึกวันละ 3 รอบ รอบละ 20 ครั้ง รวมเป็นวันละ 60 ครั้ง
  2. การฝึกจะต้องฝึกให้สม่ำเสมอทุกวัน
  3. หลังจากฝึกประมาณ 3 อาทิตย์ ให้กลับมาดูผลตามแพทย์นัด

หมายเหตุ
การ ฝึกกล้ามเนื้อตาด้วยตนเอง โดยวิธีง่าย ๆ จะได้ผลดีเมื่อมีการปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ทำตามขั้นตอนของการฝึกอย่างสม่ำเสมอ ก่อนกลับมาพบแพทย์ตามนัด

0 comments:

Post a Comment