3.12.12

ริดสีดวงทวารหนัก

ริดสีดวงทวารหนัก


ไม่กินผักผลไม้ ดื่มน้ำน้อย เครียดในชีวิตประจำวัน มีโอกาสเสี่ยงที่จะท้องผูก และถ่ายผิดปกติ หรือมีเลือดปนออกมา จนถึงขั้นเสี่ยงต่อริดสีดวง

ปัจจุบัน คนไทยเริ่มมีพฤติกรรมในการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนไปเพิ่มมากขึ้น โดยหลาย ๆ คนไม่รับประทานผัก ผลไม้ หรือบางคนดื่มน้ำน้อยมากในแต่ละวัน ประกอบกับการเกิดความเครียดจากการทำงาน ภาวะเศรษฐกิจ ปัญหาครอบครัว และสังคม ส่งผลให้คนไทยมีโอกาสเสี่ยง ที่จะเกิดอาการท้องผูก และถ่ายผิดปกติ หรือมีเลือดปนออกมา จนถึงขั้นเป็นโรคโลหิตจางจนต้องให้เลือดทดแทน

ทั้งนี้ "อาการถ่ายเป็นเลือด" เป็นอาการหนึ่งจากสภาวะท้องผูก หรือการถ่ายอุจจาระ ที่มีลักษณะเป็นก้อนแข็ง ซึ่งมาจากพฤติกรรมในผู้ที่ไม่ค่อยรับประทานผัก และผลไม้ หรือดื่มน้ำน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน รวมถึงภาวะความเครียดในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ ตามผู้ป่วยควรจะพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และตำแหน่งที่เลือดออกว่ามาจากส่วนใด ซึ่งอาจจะเป็นเนื้องอก มะเร็ง หรือริดสีดวงทวารหนัก คือ ถ้ามีเลือดออกจากลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง หรือบริเวณทวารหนัก ผู้ที่มีอาการจะเห็นเป็นเลือดสีแดงสดไหล หรือหยด หรือผสมกับอุจจาระที่ออกมา อาการเหล่านี้ หากทิ้งไว้ในระยะยาว โดยไม่ทำการรักษา อาจนำไปสู่การเป็นโรคริดสีดวงทวารหนักในระยะที่ 3 และ 4 ได้

โรคริดสีดวงทวารหนักภายในระยะที่ 1 และ 2 ไม่ถือว่าเป็นอันตรายแก่ชีวิต แต่จะเป็นความลำบาก สำหรับผู้ป่วยเอง ในการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะการที่ผู้ป่วยปล่อยให้โรคริดสีดวงทวารหนักเรื้อรัง จนลุกลามไปถึงระยะ ที่ 3 และ 4 เป็น เพราะผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวารหนักบางราย ส่วนใหญ่ไม่กล้าที่จะไปพบ และปรึกษาแพทย์ มักจะเก็บความทุกข์ทรมานจากโรคนี้ไว้ตามลำพัง เนื่องจากเกิดความอาย และกลัวกับวิธีการผ่าตัด

แต่ปัจจุบัน วิทยาการทางการแพทย์ เกี่ยวกับการรักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก มีความก้าวหน้ามากขึ้น โดยผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวารหนักในระยะที่ 3 และ 4 สามารถเลือกที่จะเข้ารับการผ่าตัดรักษาโรค ด้วยเครื่องมือตัดเย็บอัตโนมัติ (Stapled hemorrhoidectomy) หรือที่เรียกว่า PPH (Procedure for prolapsed and hemorrhoid) ในกรณีที่ ผู้ป่วยมีก้อนเนื้อยื่นออกมาในปริมาณมาก

การ รักษาด้วยเครื่องมือดังกล่าว จะช่วยให้ผู้ป่วยเจ็บน้อยลง และใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นน้อย ไม่มีผลข้างเคียงหลังการผ่าตัด รวมถึงผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้ไวกว่าการผ่าตัดแบบเดิม

การ ใช้เครื่องมือตัดเย็บอัตโนมัติ หรือ PPH กับผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวารหนักในระยะที่ 3 และ 4 เป็น วิธีแก้ไขกลไกที่ทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวารหนักโดยตรง ซึ่งอุปกรณ์ที่สำคัญในการผ่าตัดรักษาประกอบด้วย 3 ส่วน คือ เครื่องมือสอดและถ่างทวารหนัก เครื่องมือช่วยเย็บ และเครื่องมือตัดเย็บหัวริดสีดวง โดยการตัด และเย็บนี้ จะกระทำตามแนวเส้นรอบวงโดยตลอด จึงสามารถตัดหัวริดสีดวงออกได้ทุกหัว และไม่ทำให้รูทวารหนักแคบลง

อีกทั้งแนวการเย็บ อยู่สูงกว่า เส้นเด็นเต็ท (dentate line) ซึ่งเป็นบริเวณที่ไม่มีเส้นประสาทรับความรู้สึกเจ็บปวดมาเลี้ยง จึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดน้อยลง

โดยทฤษฏีแล้ว โรคริดสีดวงทวารหนักเกิดจากการเลื่อนตัวของเบาะรอง (cushion) ที่อยู่ภายในทวารหนักออกมาภายนอก วิธีการผ่าตัดนี้จะดันเบาะรองกลับไปสู่ตำแหน่งเดิม และตัดเฉพาะส่วนเกินที่ยื่นออกมาเท่านั้น ไม่ตัดเบาะรองออกทั้งหมด ในความเป็นจริงแล้ว เบาะรองมีประโยชน์ ในการทำให้ทวารหนักของคนเราปิดสนิท ไม่มีน้ำอุจจาระเล็ดออกมาได้ในระหว่างที่ไม่ได้ถ่ายอุจจาระ

เพื่อ ป้องกันการเป็นโรคริดสีดวงทวารหนัก หากผู้ป่วยพบว่า มีอาการถ่ายเป็นเลือด ถ่ายลำบาก อย่าปล่อยทิ้งไว้ให้เรื้อรัง ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเรื่องการรับประทานอาหาร เน้นผัก และผลไม้ให้มากขึ้น ดื่มน้ำมาก ๆ หลีกเลี่ยงอุปนิสัยเบ่งอุจจาระเวลาขับถ่าย ไม่ใช้ยาสวนอุจจาระพร่ำเพรื่อ

หากหลีกเลี่ยง พฤติกรรม ที่เป็นความเสี่ยงเหล่านี้ ผู้ป่วยจะมีโอกาสห่างไกลจากโรคริดสีดวงทวารหนัก และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข โดยที่ไม่ต้องพบแพทย์

ที่มา
นพ.ทรงศักดิ์ กรสุทธิโสภณ
ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยกรรมทั่วไป โรงพยาบาลเจ้าพระยา

0 comments:

Post a Comment