11.4.12

โรคภูมิแพ้ (2) เด็ก

โรคภูมิแพ้ (2) เด็ก

จำนวนผู้ป่วยภูมิแพ้กำลังเพิ่มมากขึ้นตามเทรนด์ประเทศที่พัฒนาแล้ว ใครจะคาดคิดว่า พ่อแม่นี่แหละ ...ทำร้ายลูกของตัวเอง..อะไรคือสาเหตุที่แท้จริง

เจ้า ตัวร้ายภูมิแพ้อาจ เป็นดัชนีชี้วัดความมีอันจะกินได้ เพราะมันชอบฝังตัวอยู่กับครอบครัวผู้มีฐานะดี มีความเป็นอยู่สะอาด (เกินไป) และปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ภูมิคุ้มกันในเด็กอ่อนแอลง

ย้อนดูสถิติ 5-10 ปีที่ผ่านมา อัตราเด็กป่วยด้วยภูมิแพ้เพิ่มขึ้นถึง 20-30% ทั้งอาการภูมิแพ้อาหาร ผิวหนังอักเสบ หอบหืด และจมูกอักเสบ

ผลสำรวจ ด้วยแบบสอบถามในปี 2549 พบว่าเด็กขวบปีแรกถึงวัยรุ่นอายุ 18 ปี มีอัตราการภูมิแพ้อาหาร 8% หอบหืด 10-15% และจมูกอักเสบมากถึง 30% สาเหตุเกิดจากปัจจัยทั้งกรรมพันธุ์ 60-70% และสิ่งแวดล้อม 40% และจะทวีความรุนแรงมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารที่บริโภค ภูมิคุ้มกันในตัว หรือผิวหนังไม่แข็งแรง เป็นต้น

ปัจจุบันนี้ เส้นกราฟผู้ป่วยยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แพทย์และนักวิชาการตะวันตกต่างหัวหมุนศึกษาวิธีรักษาภูมิแพ้อย่างขะมักเขม้น และน่าจะเห็นความเปลี่ยนแปลงชัดเจนขึ้นในอีก 3-5 ปีข้างหน้านี้

เราคงต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ลูกน้อยยังร้องอุแว้ แม้อดีตเราจะคุ้นเคยกับการคลอดธรรมชาติมากกว่า แต่ตอนนี้ ว่าที่คุณแม่ยุคใหม่กลับนิยมผ่าคลอดกว่า 80-90% เลยทีเดียว

รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ศิริราชพยาบาล บอกว่า เด็ก ผ่าคลอดจะไม่ได้รับโพรไบโอติกส์ หรือจุลินทรีย์สุขภาพที่อยู่บริเวณช่องคลอดของมารดา นั่นทำให้ทารกน้อยสูญเสียประโยชน์ที่จะพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันของเด็กในช่วง เริ่มแรกของการมีชีวิต

“ถ้าโพรไบโอติกส์มีไม่มากพอ จะเอาอะไรไปต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้าไปในร่างกาย หรือกระตุ้นเม็ดเลือดขาวให้สร้างระบบภูมิคุ้มกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่ตามมาคือ ทารกที่คลอดโดยการผ่าตัดคลอดเลยมีโอกาสเป็นโรคติดเชื้อและโรคภูมิแพ้มากกว่า ทารกที่คลอดทางช่องคลอด”

ไม่ต้องพึ่งหมอดู ก็ทำนายได้ว่าอีก 10-20 ปีข้างหน้า เยาวชนและวัยรุ่นในเมืองใหญ่จะไม่แข็งแรง และเป็นโรคภูมิแพ้และหอบหืดกันเกลื่อนเมือง

แต่เราก็ยังไม่หวาดกลัว เจ้าภูมิแพ้กันสักนิด เพราะคิดว่ามันเป็นโรคกำเริบเป็นระยะ และเป็นโรครำคาญ แต่เชื่อหรือไม่ว่า เมื่อโตขึ้นจากอาการแพ้อาหารและผิวหนังอักเสบเล็กน้อย อาจลุกลามน่ากลัวถึงขนาดเสียชีวิตได้ (Anaphylaxis)

รศ. พญ. พรรณทิภา ฉัตรชาตรี หัวหน้าหน่วยภูมิแพ้และ ภูมิคุ้มกันวิทยา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ก่อนจะไปถึงขั้นเสียชีวิต มันยังส่งผลเสียต่อสุขภาพของเด็กในระยะยาวอีกด้วย

ใน วัยแรกเกิดถึง 3 ปีนั้นเป็นช่วงเวลาที่สำคัญของการเรียนรู้สำหรับเด็ก การที่เด็กไม่สบายเป็นไข้หวัด เด็กจะเบื่ออาหาร ร่างกายก็จะอ่อนแอ และทำให้การเจริญเติบโตทางด้านร่างกายช้าลง

ด้านจิตใจ เด็กที่ไม่สบายเพราะขาดภูมิต้านทาน อาจจะไม่ยอมไปโรงเรียน กลายเป็นเด็กที่ติดแม่ ขาดทักษะการเข้าสังคม เกิดความเครียด ที่เรียกว่าเป็น “Psychological Depression” ทำให้มีพัฒนาการที่ถดถอย ต่างกับเด็กที่มีสุขภาพเเข็งแรงเพราะมีภูมิคุ้มกันที่ดี

คุณหมอบอก วิธีสังเกตว่า เด็กเล็กจะมีอาการชัก ผื่นขึ้น แหวะนม ท้องเสีย เลี้ยงไม่โต หรือบางรายปากและหน้าบวมภายใน 15 -30 นาทีหลังจากสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งส่วนมากจะแพ้อาหารทั่วไป อย่าง นม ไข่ และแป้งสาลี ในขณะที่ผู้ใหญ่มักจะแพ้อาหารทะเล

หากเป็นหอบหืด จะหายใจหอบและหายใจเร็ว และอาจตัวเขียว หายใจไม่ได้เลย ส่วนจมูกอักเสบ จะมีอาการจาม คัน มีน้ำมูก คันตา หากทิ้งไว้หลายปี จะเสี่ยงต่อโรคไซนัสอักเสบ ซึ่งภายหลังติดเชื้อ ผู้ป่วยจะไอบ่อย เป็นหนอง ในรายที่เป็นมาก อาจปวดหัว และเสี่ยงต่อการเป็นฝีในสมองในอนาคตได้

อาการ ภูมิแพ้จะมีพัฒนาการต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ เริ่มจากเด็กคนหนึ่ง ในขวบแรกที่แพ้อาหาร ต่อมาเด็กคนนี้อาจจะมีผื่นตามตัว หรือหืดหอบ และไม่นานอาจเสี่ยงต่อการเป็นจมูกอักเสบเมื่อเป็นผู้ใหญ่

ฉะนั้น อย่ามัวรีรอวิทยาการแพทย์ที่ยังมาไม่ถึง หรือคิดจะพึ่งพิงวัคซีน เพราะไม่มีวัคซีนตัวไหนจำเพาะเจาะจง อีกทั้งบางคนยังแพ้หลายตัว ทางที่ดีเราควรหาวิธีธรรมชาติเพื่อป้องกันภูมิแพ้ให้ลูกน้อยดีกว่า นั่นคือ การสร้างภูมิต้านทานหรือกระตุ้นภูมิคุ้มกันในเม็ดเลือดขาวที่แทรกซึมทั่วร่างกาย

หาก ยังเป็นว่าที่คุณแม่ ก็ควรโด้ปแหล่งอาหารต้านอนุมูลอิสระ อย่าง วิตามิน เอ อี ซี สังกะสี และบริโภคปลาเป็นประจำเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่ลูกอยู่ในท้อง และเลือกวิธีการคลอดธรรมชาติดีกว่า

ส่วนการเลี้ยงดูต้องเริ่มจากการ เปลี่ยนไลฟ์สไตล์ เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม ควรพาหนูๆ ไปอยู่กับธรรมชาติ ให้ภูมิคุ้มกันได้ถูกกระตุ้นด้วยสารธรรมชาติ
ถ้าขืนปล่อยให้อยู่แต่ในห้องปรับอากาศที่ไม่ถ่ายเทไปเรื่อยๆ ทั้งไรฝุ่น เกสรดอกไม้ หรือขนสัตว์เลี้ยงก็จะค่อยๆ สะสมในตัวลูกมากขึ้น

ที่ สำคัญยังต้องเพิ่มสารอาหารที่ จำเป็นสำหรับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ลูกน้อย (Functional Food) ได้แก่ ดีเอชเอ จากน้ำมันปลา ธัญพืช ไข่แดง รวมถึงสารสกัดในนมผงสำหรับทารกที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในเซลล์เยื่อบุทาง เดินหายใจ ซึ่งเป็นด่านแรกของการสัมผัสเชื้อโรค แถมยังช่วยเสริมสร้างสมอง และระบบประสาท สายตา และเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งทำหน้าที่สร้างเซลล์ภูมิคุ้มกันไปในตัว

รวมทั้งอาหาร เสริมที่มีใยอาหาร เช่น ผักผลไม้ เช่น กล้วย พืชมีหัว ซึ่งอินนูลีนจะไม่ถูกย่อย ทำให้แบคทีเรียที่ดีในลำไส้เจริญเติบโตได้
นอก จากท้องไม่ผูกแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของระบบทางเดินอาหารให้กับลูกน้อยเพื่อเป็น เกราะป้องกันการติดเชื้อโดยง่าย และวิธีนี้ยังช่วยป้องกันไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่เป็นของแถม

พ่อแม่ไม่ จำเป็นต้องไปซื้อวิตามินเม็ดสำเร็จรูป เพราะสัดส่วนที่กำหนดมานั้นสำหรับผู้ใหญ่ จึงไม่เหมาะกับเด็ก เพียงแค่บริโภคอาหารที่มีประโยชน์ เป็นอาหารธรรมชาติให้สมดุลกับน้ำหนักตัว เท่านั้นก็เพียงพอแล้ว

อีกทั้ง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนเร่งปฏิกิริยา และมลพิษ ที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้อาการภูมิแพ้แสดงออกมา ผลที่ได้รับก็คือเราจะไม่ป่วย และไม่เป็นภูมิแพ้ เจริญเติบโตดี และโอกาสเกิดโรคน้อยลง เหมือนเกราะที่คุ้มกันเราอยู่ มีภูมิคุ้มกัน ก็เท่ากับ คุ้มกันชีวิต

แม้จะป้องกันเป็นอย่างดีแล้ว เราก็ยังโล่งใจไม่ได้อีก

เพราะ วิธีการรักษาโรคภูมิแพ้อ้างอิงเพียงการแพทย์แผนปัจจุบัน มีพื้นฐานการศึกษาทดลอง เห็นผลได้เท่านั้น แต่ศาสตร์แพทย์ทางเลือก ยังล้วงตับ เจาะลึกถึง ภูมิแพ้อาหารแฝง ซึ่งยังไม่สำแดงอาการให้เห็นกันเลย

บาง คนหาสาเหตุของโรคภูมิแพ้ไม่เจอ รักษาไม่หายสักที หรือรักษาเท่าไรก็ไม่หายขาด เป็นๆ หายๆ ต้องกินยาแก้แพ้ตลอดเวลา เข้าออกโรงพยาบาลเป็นว่าเล่น เปลี่ยนหมอมาไม่รู้กี่ที ก็อาจสรุปได้ว่า คนนั้นน่าจะเป็นภูมิแพ้อาหารแฝง

นพ. ต่อศักดิ์ ทิพย์ไพโรจน์ หัวหน้าทีมแพทย์ศูนย์สุขภาพองค์รวมและสปา ตรัยยา (TRIA) อธิบายว่า ภูมิ แพ้เกิดจากอาหารสะสมเป็นเวลานาน นอกจากจะมีไข่ นม ถั่ว เป็นสามตัวการใหญ่แล้ว อาหารที่บริโภคเข้าปากทุกวันอาจเป็นสาเหตุของโรคนี้ก็ได้

ทาง แก้ไขหลังจากตรวจแล็ปรายการอาหาร 30 ชนิด หรือ 96 ชนิดอย่างละเอียดแล้ว ผู้ป่วยจะต้องเลี่ยงอาหารต้องสงสัย 2-3 สัปดาห์ แล้วทดแทนด้วยแหล่งอาหารอื่น เช่นแพ้เนื้อวัว ก็ต้องบริโภคโปรตีนจากปลา หรือแพ้นม ก็หันไปหาแหล่งแคลเซียมอื่น และอาศัยการหมุนเวียนอาหารอยู่เสมอ

ต่อ จากนั้นถึงขั้นฟื้นฟูระบบการย่อยอาหาร ส่งเสริมสมดุล กระตุ้นภาวะย่อยอาหาร สร้างสุขนิสัยการกินที่ดี และเสริมสร้างสารอาหารที่ขาด เพื่อให้สารอาหารเข้าไปมีบทบาทการเปลี่ยนแปลงของยีน และตัดขาดจากอาการไม่พึงประสงค์ทั้งหลายแบบถาวร

แทนที่จะนั่งรอวัคซีน หรือพึ่งพาหมอ ควรเสริมภูมิต้านทานให้ลูกน้อยเอาไว้สู้กับนานาโรคใหม่หน้าตาแปลกๆ กันดีกว่า

0 comments:

Post a Comment