12.4.12

ลูกไม่ยอมกินข้าว (กินผัก) ทำไงดี?

ยุคสมัยนี้ ปัญหาโลกแตกที่สร้างความหนักใจแก่พ่อแม่ยุคใหม่ เห็นทีจะหนีไม่พ้น ปัญหาเด็กไทยกินยาก และไม่กินผัก โดยเฉพาะในส่วนหลัง ผลสำรวจพบว่า มีเพียง 41.1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่เด็กกินผักทุกวัน ซึ่งปัญหาเหล่านี้กลายเป็นความกังวลใจแก่พ่อแม่ที่ต่างกลัวว่า ลูกน้อยจะไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย

ช่วง วัยเด็กเป็นช่วงเวลาที่สำคัญต่อการเจริญเติบโต เด็กจำเป็นต้องได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ แต่ปัญหาที่พบ คือ เด็กในช่วงวัยเด็กตั้งแต่ 1 ขวบขึ้นไป มักไม่ชอบกินข้าว หรือกินผัก ทั้ง ๆ ที่เป็นแหล่งของวิตามิน และเกลือแร่ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย

ไม่ ว่าจะเป็น แครอท ที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ ช่วยในการมองเห็น มะเขือเทศ มีวิตามินซี ช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง ผักขม ให้วิตามินเค ช่วยสร้างสารที่ทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือด และแคลเซียมซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก และฟัน

อย่างไร ก็ดี เมื่อลูกเกิดอาการเบื่ออาหาร ขอแนะนำว่า คุณแม่ต้องปรับเปลี่ยนเมนู ให้ตรงกับความชอบของลูก สำหรับเด็ก ๆ ที่ไม่ชอบทานผัก อาจจะต้องทำเมนูผักชุบแป้งทอด แล้วจิ้มกับซอสมะเขือเทศ หรือซอสรสหวาน เพื่อให้รสชาติของผัก เป็นที่ถูกใจคุณลูกมากขึ้น

ขณะเดียวกัน ก็ต้องคอยปลูกฝังให้เด็กเห็นความสำคัญของการกินผัก โดยโยงกับตัวการ์ตูน ที่เด็กชื่นชอบ แต่ถ้าทำแล้วไม่ได้ผล คุณแม่อาจจะต้องหาอาหารเสริม หรือวิตามินเสริมให้ลูกกิน เพื่อให้เด็กได้รับวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย และไฟเบอร์ช่วยป้องกันอาการท้องผูก ที่อาจเกิดขึ้นได้

ด้านปัญหา “พฤติกรรมกินยากของเด็กไทย” โดยเฉพาะเด็กเล็ก ที่ยังคงเป็นปัญหาสำหรับคุณแม่ และคุณพ่อไม่ใช่น้อย สอดรับกับงานวิจัยของสวนดุสิตโพลเรื่อง “พฤติกรรมการกินยากในเด็กเล็ก” ที่ทำการสำรวจกลุ่มเป้าหมายคุณแม่ ที่มีลูกอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 2 - 6 ขวบ จำนวน 1,148 คน ในเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยใช้แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ จำนวน 11 ประเด็น ในเดือน กรกฎาคม 2552 ที่ผ่านมา ผลสรุปออกมาว่า

  • คุณแม่ 85.54 % ป้อนอาหารให้กับลูกด้วยตัวเอง
  • มีคุณแม่ถึง 61.67 % มีการทะเลาะกับลูกเรื่องการกินข้าวของลูก

สำหรับปัญหาที่ คุณแม่กังวลมากที่สุด คือ
  • ลูกทานข้าวช้ากว่าจะหมดจาน และอมข้าว ซึ่งมี 31.76 % รองลงมาคือ ลูกไม่ชอบกินผัก และผลไม้ 26.53 %

โดยพบสาเหตุหลักว่า
  • อาหาร ไม่ถูกปากลูก รวมถึงมีสิ่งยั่วยุ เร้าใจอื่น ๆ เช่น เล่นกับเพื่อน หรือดูทีวี และยังไม่หิว ด้านวิธีการของคุณแม่ส่วนใหญ่ ที่นิยมทำให้ลูกยอมกินข้าว คือ การอ้อนวอน และติดสินบน ซึ่งมีถึง 35 % รองลงมา คือ บ่น ดุ 17.88 %

ทั้งนี้ผลกระทบที่คุณแม่คิดว่า ได้รับมากที่สุดจากการที่ลูกกินยาก คือ
  • คุณแม่ 30.58 % อารมณ์เสีย หงุดหงิด
  • รองลงมา คือ 29.27 % มีผลกระทบต่อพัฒนาการลูก
  • และ 22.34 % บอกว่าสิ้นเปลืองเวลา

จาก ผลสำรวจดังกล่าว เป็นการเก็บข้อมูลระยะสั้น แต่สะท้อนให้เห็นว่า พฤติกรรมการกินยากของเด็กเล็ก ยังคงเป็นปัญหาที่คุณแม่ส่วนใหญ่แก้ไม่ตก

คุณแม่ต้องเข้าใจพัฒนาการของลูกก่อน เพราะ ลูกวัย 2 - 6 ขวบ จะกินอาหารได้น้อยลง ซึ่งน้อยว่าตอนอายุ 1 ขวบ ดังนั้น ไม่ควรกดดันหรือบังคับให้ลูกกินอาหาร นอกจากนี้ ขณะกินข้าวไม่ควรให้ลูกกินอยู่หน้าจอโทรทัศน์ หรือกินไปเล่นไป เพราะเด็กในวัยนี้ เป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็น จะทำให้เด็กหนีห่าง จากการกินข้าวเพื่อไปดู หรือเล่นกับสิ่งเร้าเหล่านั้นได้

สิ่งที่คุณแม่ หรือคุณพ่อควรระวัง อ้างจากผลงานวิจัย การติดสินบนเพื่อให้ลูกกินข้าว อาจส่งผลเสียต่อเด็กในตอนโตได้ ทางที่ดี ไม่ควรติดสินบนลูก เช่น กินหมดจะซื้อขนมให้ แต่ควรเปลี่ยนวิธีการให้รางวัลทางใจกับลูกแทน เช่น ปรบมือให้เป็นรางวัล นั่นจะทำให้เด็กไม่เคยตัว และต่อรองเวลากินข้าว

0 comments:

Post a Comment