17.7.12

ดื่มน้ำเท่าไร แบบไหนจึงจะสุขภาพดี ?


ปริมาณน้ำที่ดื่มในแต่ละวันเป็นสิ่งสำคัญ คนดื่มน้ำน้อยเลือดจะข้น ระบบไหลเวียนของเหลวในร่างกายผิดปกติ ผิวพรรณหยาบกร้าน รวมทั้งอาจเกิดการเจ็บป่วยต่าง ๆ แต่หากดื่มน้ำมากเกินไปก็ใช่ว่าจะเป็นผลดี เพราะไตจะทำงานหนัก ส่งผลให้ปวดศีรษะ อาเจียน กล้ามเนื้อเป็นตะคริว ความดันสูง น้ำหนักมากขึ้น ร่างกายบวมน้ำ รวมถึงอาจส่งผลถึงระบบสืบพันธุ์ แต่ละวันมนุษย์ควรดื่มน้ำปริมาณเท่าไร และดื่มน้ำอะไรถึงจะปลอดภัย เราจะมาถอดรหัสกัน

สูตรคำนวณปริมาณน้ำดื่มที่เหมาะกับคุณ

องค์การอนามัยโลกได้กำหนดสูตรคำนวณปริมาณน้ำดื่ม ที่เหมาะสมกับน้ำหนักตัวของ แต่ละคน ในแต่ละวันไว้ดังนี้

น้ำหนักตัว (ก.ก.)/2 x 2.2 x30 = … C.C.
**(1000 C.C. = 1 ลิตร, 1 ลิตร = 5 แก้ว)


สมมติ ว่า มีน้ำหนักตัว 55 กิโลกรัม 55/2 x 2.2 x 30 = 1815 C.C. 1815 C.C. = 1.8 ลิตร 1.8 ลิตร = 9 แก้ว เมื่อทราบปริมาณน้ำดื่มต่อวันแล้ว จะต้องมีเทคนิคในการดื่มน้ำ ให้เกิดประโยชน์กับร่างกายมากที่สุดด้วย เทคนิคง่าย ๆ ที่ว่านั้นมีอยู่ 2 ข้อคือ

หลังตื่นนอน ก่อนแปรงฟัน ให้ดื่มน้ำทันที 2 - 5 แก้ว เพื่อช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ควรเป็นน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่น ไม่ใช่น้ำเย็น ที่ต้องดื่มตอนเช้า เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายขับสารพิษได้ดีที่สุด ดื่มน้ำแต่น้อย ระหว่างรับประทานอาหาร ไม่ควรเกิน 1 แก้ว หลังรับประทานอาหารเสร็จแล้ว 40 นาทีจึงค่อยดื่มน้ำตาม เพื่อให้กระเพาะย่อยอาหารได้เต็มที่ ที่สำคัญไม่ควรดื่มน้ำเย็น เพราะจะไปรบกวนการย่อย ทุกวันนี้เราดื่มน้ำอะไรกันอยู่

น้ำประปาดื่มได้

ปัจจุบัน น้ำประปาของการประปานครหลวง ผ่านการผลิต และควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอน ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก จึงดื่มได้อย่างปลอดภัย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบเดินท่อประปาในบ้าน ท่อเหล็กมีอายุใช้งานไม่เกิน 5 ปี ที่ปลอดภัยที่สุด คือ ท่อพลาสติก เพราะไม่เป็นสนิม การต้มน้ำประปาจะช่วยฆ่าเชื้อโรคในน้ำ และลดความกระด้างไปพร้อมกัน ทั้งยังลดกลิ่นคลอรีนได้ด้วย ส่วนน้ำประปาที่ผ่านระบบกรอง ก็ขึ้นอยู่กับตัวกรองที่เลือกใช้ บางบ้านอาจใช้ตัวกรองถ่าน (Activated carbon) และเรซิน (Resin) ซึ่งก็สะอาดเพียงพอใกล้เคียงน้ำบรรจุขวด เว้นแต่ไม่ได้ผ่านขั้นตอนการฆ่าเชื้อ ด้วยรังสีอัลตร้าไวโอเลตหรือโอโซน

น้ำดื่มบรรจุขวด

The International Bottled Water Association หรือสมาคมน้ำบรรจุขวดนานาชาติ ได้ให้นิยามของน้ำบรรจุขวดไว้ว่า
  • น้ำดื่ม (Drinking Water) น้ำดื่มในบ้านเรานั้นได้มาจากแหล่งน้ำบาดาล และน้ำประปา ผ่านการกรองชั้นถ่านเพื่อดูดกลิ่น ตามด้วยการผ่านสารเรซิน เพื่อลดความกระด้าง ขั้นตอนสุดท้ายคือ การฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่อาจปนเปื้อนในน้ำ ด้วยการผ่านแสงอุลตร้าไวโอเลต หรือก๊าซโอโซน ที่เราเรียกกันจนคุ้นเคยว่าน้ำ UV หรือน้ำโอโซนนั่นเอง
  • น้ำธรรมชาติ (Natural Water) คือ น้ำใต้ดิน รวมทั้งน้ำพุ (Spring) น้ำแร่ (Mineral) น้ำบ่อ (Well) และน้ำพุที่เจาะขึ้นมาจากแหล่งใต้ดิน (Artesian Well) ไม่นับรวมแหล่งน้ำสาธารณะ และน้ำประปา ในการผลิตน้ำธรรมชาติ ห้ามใช้กระบวนการอื่นใด นอกจากการกรองเศษฝุ่นละอองและการฆ่าเชื้อโรค ด้วยวิธีการผลิตดังกล่าว จึงทำให้น้ำแร่บรรจุขวดมีความใกล้เคียงกับน้ำจากแหล่งกำเนิดมาก และการที่น้ำแร่มีคุณสมบัติแตกต่างกันตามแหล่งน้ำธรรมชาตินี้เอง จึงต้องมีการกำหนดค่าปริมาณเกลือแร่ ซึ่งอาจเกิดผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก และสตรีมีครรภ์ที่มีระบบย่อยอาหารไม่ดีเท่าคนทั่วไป เพราะน้ำแร่จะออกฤทธิ์เป็นยาระบาย หากมีปริมาณซัลเฟตมากกว่า 600 มิลลิกรัมต่อลิตร (ยกเว้นแคลเซียมซัลเฟต)
  • น้ำเพียวริไฟด์ (Purified Water) เรียกง่าย ๆ ว่า น้ำกลั่น เป็น น้ำที่ผลิตด้วยการกลั่น คือต้มน้ำจนเดือดแล้วระเหยกลายเป็นไอ เมื่อไอน้ำกระทบพื้นผิวที่เย็นจะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ หรืออีกวิธีคือ การใช้กระแสไฟฟ้าแยกเกลือแร่ (Deionization) ที่ปนอยู่ออก แล้วน้ำไปผ่านขั้นตอนการกรอง ด้วยวัสดุที่มีรูขนาดเล็ก 0.0006 ไมครอน (1 เมตรเท่ากับ 1 ล้านไมครอน) เมื่อแร่ธาตุต่าง ๆ ถูกกรองออกหมดจะได้น้ำที่บริสุทธิ์มาก จนแทบไม่เหลือความกระด้างอยู่เลย แต่ที่จริงแล้วร่างกายคนเรา ก็ไม่จำเป็นต้องได้รับน้ำบริสุทธิ์ขนาดนั้น

ขวดแบบไหนเหมาะใส่น้ำดื่ม

ขวดที่นิยมใช้บรรจุน้ำดื่มในปัจจุบัน มี 4 ชนิด คือ (1) ขวดแก้วใส, (2) ขวดพลาสติกใสและแข็ง (Polystyrene), (3) ขวดพลาสติกเพท (Polyethylene terephthalate, PET) ซึ่งมีลักษณะใสและกรอบ และสุดท้าย (4) ขวดพลาสติกขาวขุ่น (High-density polyethylene, HDPE)

ขวด 3 ชนิดแรก ใช้บรรจุน้ำดื่มได้ดีกว่าขวดพลาสติกสีขาวขุ่น เคยมีการทดลองนำน้ำดื่มบรรจุขวดสีขาวขุ่นไปตั้งกลางแดดนาน ๆ จะมีกลิ่นของพลาสติกปนมากับน้ำ แม้ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค แต่ก็ทำให้คุณภาพของน้ำลดลง ข้อเสียอีกประการหนึ่งคือ ขวดขาวขุ่นไม่เหมาะที่จะนำมารีไซเคิล ต่างจากขวดอีกสามชนิด ที่รีไซเคิลง่ายและใช้ได้ทนทานกว่า ส่วนวันหมดอายุของน้ำดื่มบรรจุขวดนั้น คือ ประมาณ 2 ปี นับจากวันผลิตที่ระบุไว้บนฉลาก

ที่มา นิตยสาร HEALTH & CUISIN



ถ้าจะถามว่าคนเราควรดื่มน้ำวันละเท่าไร ?

ตอบตามที่เคยเรียนสุขศึกษามา ก็ต้องบอกว่า 8-10 แก้วแน่นอน ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยสำหรับคนทั่วไป   แต่ถ้าจะให้แน่ชัดกว่านั้นอีกหน่อย  ต้องตอบว่าขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของคุณไงครับ 
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีน้ำหนักตัว 72 กิโลกรัม  คุณควรดื่มน้ำ 8 แก้วต่อวัน ดังนั้นคนที่น้ำหนักตัวต่ำกกว่านี้ก็ควรดื่มอย่างน้อย 8 แก้ว แต่สำหรับคนที่มีน้ำหนักตัวมากกว่านั้น นักกำหนดอาหารแนะนำว่าควรเพิ่มการดื่มน้ำมากขึ้นอีก 1 แก้ว ต่อน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น 10 กิโลกรัม
และน้ำที่ดีต่อสุขภาพมากที่สุดคือน้ำเปล่าที่สะอาด  แต่ในแต่ละวันคนเรา ยังได้น้ำจากการรับประทานอาหารอื่นๆ อีกมากมายที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ โดยเฉพาะในพืชผักผลไม้  อันนี้ถือว่าเป็นตัวแถมแล้วกันนะครับโดยเฉพาะอย่างยิ่งอากาศร้อนๆ อย่างนี้ดื่มน้ำมากหน่อยดีกว่าปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำครับ
ที่มาข้อมูล :นิตยสาร Health Today

0 comments:

Post a Comment