1. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอ่อนแรงครึ่งซีก
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากเตียงไปนั่งในรถเข็น
1. ผู้ป่วยลุกขึ้นนั่งห้อยขาลงข้างเตียง รถเข็นตั้งอยู่ทางด้านที่ปกติของผู้ป่วยโดยทำมุมประมาณ 45 องศา และล็อกล้อรถเข็นไว้
2. ผู้ป่วยโน้มตัวลุกขึ้นยืนด้วยความระมัดระวัง
3. เมื่อยืนได้มั่นคงดีแล้ว ใช้มือข้างที่ปกติจับที่วางแขนของรถเข็น (ที่อยู่ไกลตัว) ก้าวขาข้างที่ปกติไปหารถเข็น พร้อมกับการหันตัวและก้มตัวนั่งลงในรถเข็น
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากรถเข็นไปเตียง
1. ผู้ป่วยนั่งในรถเข็นที่ตั้งทำมุมประมาณ 45 องศากับเตียง โดยให้ด้านที่ปกติของผู้ป่วยเข้าหาเตียง ล็อกล้อรถเข็น และวางเท้าทั้งสอง
ข้างลงบนพื้น
2. มือข้างที่ปกติจับที่วางแขนแล้วโน้มตัวลุกขึ้นยืนด้วยความระมัดระวัง
3. ย้ายมือจากที่วางแขนไปยังที่นอน แล้วก้าวขาข้างที่ปกติไปด้านหน้าเล็กน้อย
4. หันลำตัวและย้ายตัวก้มลงไปนั่งบนเตียง
2. การจัดท่านอน
การจัดท่านอนหงาย
  • หมอนไม่ควรให้สูงมาก
  • ศีรษะและลำตัวอยู่ในแนวตรง
  • แขนเหยียดสบายวางข้างลำตัว
  • ข้อมือตรงจะคว่ำหรือหงายข้อมือก็ได้
  • ขาเหยียดตรงมีผ้าขนหนูรองใต้เข่า ให้ข้อเข่างอเล็กน้อย
  • ปลายเท้าควรใช้ผ้าขนหนูเล็กๆ รองด้านล่างของข้อเท้า เพื่อให้เท้าตั้งตรงป้องกันแผลกดทับที่ตาตุ่ม
การจัดท่านอนตะแคงทับข้างที่ปกติ
  • ศีรษะโน้มไปทางด้านหน้าเล็กน้อย
  • แขนของผู้ป่วยข้างที่อ่อนแรงควรมีหมอนรองใต้แขน ยื่นแขนไปข้างหน้า
  • ข้อศอกเหยียด มือคว่ำบนหมอน
  • ข้อมือตรงนิ้วมือเหยียดออก
  • สะโพกและเข่าข้างที่อ่อนแรงมีหมอนรองตั้งแต่สะโพกถึงปลายเท้าสะโพกและข้อเข่างอประมาณ 30 องศา
การจัดท่านอนตะแคงทับข้างที่อ่อนแรง
  • ศีรษะโน้มไปทางด้านหน้าเล็กน้อย
  • สะโพกและเข่าข้างดี มีหมอนรองใต้ตั้งแต่สะโพกถึงปลายเท้า
  • แขนข้างที่อ่อนแรงยื่นมาข้างหน้า ข้อศอกตรงหงายมือ
  • ขาข้างที่อ่อนแรง เหยียดขา เข่างอเล็กน้อย ข้อเท้าอยู่ในท่าที่ปกติ
3. การเดิน
  1. ใช้มือข้างที่ปกติจับไม้เท้า
  2. ยกไม้เท้าไปข้างหน้าก่อน
  3. ก้าวเท้าข้างที่อ่อนแรงก่อน
  4. ก้าวเท้าข้างที่ปกติตามมา
4. การขึ้น-ลงบันได
  1. ก้าวขาข้างที่ปกติขึ้นก่อน
  2. ก้าวขาข้างที่อ่อนแรงลงก่อน
การบริหารการเคลื่อนไหวของข้อ
ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวแขนและขา ควรมีผู้ดูแลทำการเคลื่อนไหวข้อต่างๆ ให้ผู้ป่วยข้อควรปฏิบัติในการเคลื่อนไหวข้อ
  • การเคลื่อนไหวข้อให้ผู้ป่วยควรทำช้าๆ
  • ควรทำการเคลื่อนไหวให้สุดองศาของการเคลื่อนไหวที่ปกติ
  • ในแต่ละท่าทำซ้ำๆท่าละ 10-20 ครั้ง วันละ 2 รอบ
  • ไม่ควรทำการเคลื่อนไหวหลังจากรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ หรือในขณะผู้ป่วยมีไข้
  • ขณะทำการเคลื่อนไหวข้อ ถ้าผู้ป่วยปวด หรือ พบปัญหาอย่างอื่นตามมา ควรหยุดและปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด
การบริหารส่วนของแขน
การยกแขนขึ้นและลง
การกางแขนออกและหุบแขนเข้า
การหมุนข้อไหล่ออกและเข้า
การงอข้อศอกเข้าและออก
การกระดกข้อมือขึ้นและลง
การเหยียดนิ้วและงอนิ้ว
การงอและเหยียดนิ้วหัวแม่มือ
การบริหารส่วนของขา
การงอข้อสะโพกและข้อเข่า
การหมุนข้อสะโพกเข้าและออก
การกางขาออกและเข้า
การกระดกข้อเท้าขึ้นและลง
การหนุนข้อเท้าเข้าและออก